สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Community Nurse Practitioner |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Community Nurse Practitioner) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Community Nurse Practitioner) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบ
ภาษาที่ใช้
การรับเข้าศึกษา
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
|
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 ปรับปรุงจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (ปรับปรุง พ.ศ.2555) คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 16/60 วันที่ 31 พฤษภาคม สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2560 วันที่ 20 ตุลาคม 2560 เปิดสอน ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2560 |
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ) พยาบาลประจำหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก สาขาการพยาบาลศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าอบรมวุฒิบัตรพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน หรือเก็บประสบการณ์เพื่อเข้าสอบวุฒิบัตรพยาบาลขั้นสูง และขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2545 และปรับปรุง พ.ศ. 2554 |
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
จำนวนหน่วยกิต |
|
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ข |
|
1) หมวดวิชาบังคับ |
24 |
30 |
1.1) วิชาแกน |
12 |
12 |
1.2) วิชาเฉพาะสาขา |
12 |
18 |
2) หมวดวิชาเลือก |
3 |
3 |
3) วิชาวิทยานิพนธ์ |
12 |
- |
4) วิชาการศึกษาอิสระ |
- |
6 |
3.1.3 รายวิชา |
|||||||
3.1.3.1 หมวดวิชาบังคับ วิชาแกน |
|||||||
|
|
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ข |
||||
*NU 127 101 |
ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล |
3 (3-0-6) |
3 (3-0-6) |
||||
|
Health System and Nursing Leadership |
|
|
||||
NU 127 102 |
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล |
2 (2-0-4) |
2 (2-0-4) |
||||
|
Theories and Concepts in Nursing |
|
|
||||
NU 127 103 |
การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล |
2 (2-0-4) |
2 (2-0-4) |
||||
|
Research and Research Utilization in Nursing |
|
|
||||
NU 127 104 |
สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล |
2 (2-0-4) |
2 (2-0-4) |
||||
|
Statistics for Nursing Research |
|
|
||||
**NU 127 105 |
การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ |
3 (3-0-6) |
3 (3-0-6) |
||||
|
Advanced Health Assessment and Primary Medical Care
|
|
วิชาเฉพาะสาขา
**NU 627 111 |
วิทยาการระบาดและประชากรศาสตร์สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
2 (2-0-4) |
2 (2-0-4) |
|
Epidemiology and Demography for Community Nurse Practitioner |
|
|
NU 627 112 |
การพยาบาลชุมชนขั้นสูง |
3 (3-0-6) |
3 (3-0-6) |
|
Advanced Community Nursing
|
|
|
NU 627 113 |
นวัตกรรมทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
1 (1-0-2) |
1 (1-0-2) |
|
Innovation of community nursing practitioner |
|
|
NU 627 114 |
สัมมนาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน |
|
3 (3-0-6) |
|
Seminar in Community Nursing Practitioner |
|
|
** NU 627 211 |
ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการดูแลภาวะฉุกเฉิน |
3 (0-9-6) |
3 (0-9-6) |
|
Primary Medical Care and Emergency Care Practice |
|
|
** NU 627 212 |
ปฏิบัติการพยาบาลชุมชนขั้นสูง |
3 (0-9-6) |
3 (0-9-6) |
|
Advanced Practice in Community Nursing |
|
|
NU 627 213 |
ปฏิบัติการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน |
|
3 (0-9-6) |
|
Community Health System Development Practice
|
|
หมวดวิชาเลือก |
|
|||||
NU 227 401
NU 227 403 |
การเขียนงานวิชาการและการเผยแพร่งานวิชาการ Scholarly writing & dissemination แนวคิด ทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง Concepts, Theories and Roles of Advanced PracticeNurse |
1 (1-0-2)
1 (1-0-2) |
1 (1-0-2)
1 (1-0-2) |
|||
NU 627 411 |
ปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน Innovation Development of Community Nurse Practitioner Practice |
2 (0-6-4) |
2 (0-6-4) |
|||
NU 927 402 |
การจัดการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย Nursing Management in Cultural Diversity |
3 (3-0-6) |
3 (3-0-6) |
|||
NU 927 404 |
หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล Curriculum, Teaching and Learning in Nursing |
3 (2-4-6) |
3 (2-4-6) |
|||
|
หรือรายวิชาอื่นๆที่จะเปิดสอนในภายหลัง
|
|
||||
วิชาวิทยานิพนธ์ |
|
|||||
NU 627 899 |
วิทยานิพนธ์ |
12 หน่วยกิต |
||||
|
Thesis
|
|
||||
ชาการศึกษาอิสระ |
|
|||||
NU 627 897 |
การศึกษาอิสระ |
6 หน่วยกิต |
||||
|
Independent Study
|
|
สาขาวิชาการผดุงครรภ์
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Midwifery |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม (การผดุงครรภ์) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Midwifery) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Midwifery) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบ
ภาษาที่ใช้
การรับเข้าศึกษา
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
|
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตเชื่อว่าพยาบาลที่ศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นผู้มีศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลเฉพาะสาขาได้จากการผสมผสานองค์ความรู้และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาพยาบาลที่สำเร็จการศึกษา เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขา เป็นผู้จัดการสุขภาพ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและสร้างบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้และนวัตกรรมในการบริการพยาบาลเฉพาะสาขาและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดวิเคราะห์ สะท้อนคิด การสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพการพยาบาลเฉพาะสาขา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีความเชื่อว่าการผดุงครรภ์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมโนทัศน์และความสัมพันธ์ของมโนทัศน์ที่สำคัญ 4 ประการ คือ สตรีวัยเจริญพันธุ์ สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและการผดุงครรภ์ สตรีวัยเจริญพันธุ์หมายถึงสตรีในระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด ตลอดถึงระยะให้นมบุตร รวมถึงทารกแรกเกิด สุขภาพของสตรีครอบคลุมทั้งภาวะทางชีวภาพ จิตใจ จิตวิญญาณ มีความเป็นองค์รวมและเกี่ยวเนื่องกับ สิ่งแวดล้อม คือ ครอบครัว ชุมชนและเครือข่ายทางสังคม การผดุงครรภ์เป็นศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสตรีแบบองค์รวมโดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศภาวะและวัฒนธรรม ทั้งในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน ภาวะวิกฤตและฉุกเฉินที่มีความซับซ้อนของปัญหา โดยบูรณาการศาสตร์ด้านการผดุงครรภ์และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ใช้การวิจัยและข้อมูลเชิงประจักษ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ การวิจัย นวัตกรรมด้านการผดุงครรภ์ในการสร้างเสริมพลังอำนาจ เพื่อคุณภาพชีวิตของสตรีวัยเจริญพันธุ์
วัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
แผน ก แบบ ก 2
- มีความรู้เชิงลึกในการบูรณาการศาสตร์ทางการผดุงครรภ์และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องรวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ
- มีความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิชาการ นักวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ หรือนวัตกรรม
ต่างๆ ในการปฏิบัติการผดุงครรภ์ ตลอดจนพัฒนาความชำนาญด้านปฏิบัติการผดุงครรภ์โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศภาวะและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีความสามารถในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม แสดงออกถึงทักษะการเป็นผู้จัดการด้านสุขภาพ และการเป็นผู้นำ การประสานงานและการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ/เครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
แผน ข
- มีความสามารถในการบูรณาการศาสตร์ทางการผดุงครรภ์และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องรวมถึง
ข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพ
- มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการผดุงครรภ์ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศภาวะและ
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม สามารถประยุกต์ใช้งานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพงานผดุงครรภ์
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีความสามารถในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม แสดงออกถึงทักษะการเป็นผู้จัดการด้านสุขภาพ และการเป็นผู้นำ การประสานงานและการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ/เครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ บรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน หลักสูตร จำนวนหน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต แผน ข รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต |
||||
3.1.2 โครงสร้างหลักสูตร |
||||
|
|
จำนวนหน่วยกิต |
||
|
|
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
|
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
|
36 |
36 |
1) หมวดวิชาบังคับ |
|
21 |
27 |
|
2) หมวดวิชาเลือก |
ไม่น้อยกว่า |
3 |
3 |
|
3) วิชาวิทยานิพนธ์ |
|
12 |
- |
|
4) วิชาการศึกษาอิสระ |
|
- |
6 |
หมวดวิชาบังคับ |
||||
วิชาแกน |
||||
|
|
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
|
**NU 127 101 |
ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
|
|
Health System and Nursing Leadership |
|
|
|
NU 127 102 |
ทฤษฏีและแนวคิดทางการพยาบาล |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
|
|
Theories and Concepts in Nursing |
|
|
|
**NU 127 103 |
การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
|
|
Research and Research Utilization in Nursing |
|
|
|
NU 127 104 |
สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
|
|
Statistics for Nursing Research |
|
|
|
|
รวม |
9 |
9 |
วิชาเฉพาะสาขา |
|
||
**NU 827 101 |
การประเมินภาวะสุขภาพสำหรับการผดุงครรภ์ |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
|
Health Assessment for Midwifery Practice |
|
|
**NU 827 102 |
วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการผดุงครรภ์ |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
|
Health Science for Midwifery |
|
|
**NU 827 103 |
การผดุงครรภ์ |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
|
Midwifery |
|
|
**NU 827 104 |
สัมมนาประเด็นคัดสรรทางสุขภาพด้านการผดุงครรภ์ |
- |
2(2-0-4) |
|
Seminar in Selected Health Issues in Midwifery |
|
|
**NU 827 201 |
ปฏิบัติการผดุงครรภ์ |
2(0-6-4) |
2(0-6-4) |
|
Midwifery Practice |
|
|
**NU 827 202 |
ปฏิบัติการผดุงครรภ์ในประเด็นคัดสรรทางสุขภาพ |
2(0-6-4) |
2(0-6-4) |
|
Midwifery Practice in Selected Health Issues |
|
|
*NU 827 203 |
ปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมทางการผดุงครรภ์ |
2(0-6-4) |
2(0-6-4) |
|
Midwifery Innovation Development Practice |
|
|
*NU 827 301 |
การพัฒนาคุณภาพการบริการด้านการผดุงครรภ์ |
- |
4(1-9-8) |
|
Quality of Midwifery Services Development |
|
|
|
รวม |
12 |
18 |
หมวดวิชาเลือก |
|||
*ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้หรือรายวิชาอื่นๆ ที่เปิดสอนในภายหลัง |
|||
NU 227 401 |
การเขียนทางวิชาการและการเผยแพร่ |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
|
Academic Writing & Dissemination |
|
|
NU 227 402 |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
2(1-2-4) |
2(1-2-4) |
|
Health Behavior Change |
|
|
NU 227 403 |
แนวคิด ทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
|
Concepts, Theories and Roles of Advanced Practice Nurse |
||
NU 527 401 |
การพยาบาลสุขภาพครอบครัว |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
|
Family Health Nursing |
|
|
NU 927 401 |
การจัดการทางการพยาบาล |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
|
Nursing Management |
|
|
NU 927 402 |
การจัดการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
|
Nursing Management in Cultural Diversity |
|
|
NU 927 403 |
การบริหารโครงการ |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
|
Project Management |
|
|
NU 927 404 |
หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
|
Curriculum ,Teaching and Learning in Nursing |
|
|
NU 927 104 |
การเป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล |
2(1-2-4) |
2(1-2-4) |
|
Nursing Entrepreneurship |
|
|
วิชาวิทยานิพนธ์ |
|||
NU 827 899 |
วิทยานิพนธ์ |
12 |
หน่วยกิต |
|
Thesis |
|
|
วิชาการศึกษาอิสระ |
|||
NU 827 897 |
การศึกษาอิสระ |
6 |
หน่วยกิต |
|
Independent Study |
|
|
สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Family Nurse Practitioner |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science in Family Nurse Practitioner ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Family Nurse Practitioner) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบ
ภาษาที่ใช้
การรับเข้าศึกษา
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ครอบครัว |
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลในสถานบริการระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ หรือประจำสถานประกอบการอื่นๆ ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นนักวิจัย นักการศึกษา ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ และ/หรืออบรมวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาเอกทางด้านการพยาบาล/การพยาบาลขั้นสูง |
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ปรัชญา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่างๆโดยกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปและการพยาบาลครอบครัวมีความสามารถในการทำวิจัยหรือปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้ โดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นำมาประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ในสาขาวิชาได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความเชื่อในการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว ด้วยปัญหาสุขภาพครอบครัวในยุคปัจจุบันมีความซับซ้อน จึงต้องการบุคลากรพยาบาลวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถและทักษะความชำนาญด้านเวชปฏิบัติและการดูแลส่งเสริมสุขภาพครอบครัว โดยเฉพาะการทำงานเชิงรุกเพื่อการส่งเสริมดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสอดคล้องตามนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแนวคิดที่จะปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่โมเดล 4.0 ที่เป็น Value-based economy หรือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อีกทั้งยังเห็นความสำคัญในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรจักนำมาประยุกต์ใช้ในงานการทำงานในทุกด้าน ดังนั้นหลักสูตรฯจึงมุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการพยาบาลให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์และสามารถบูรณาการความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้านการแพทย์ สุขภาพของบุคคลและครอบครัว รวมทั้งศาสตร์และแนวคิดด้านการพยาบาลครอบครัว เพื่อการพัฒนาและเป็นผู้นำในการสร้างระบบบริการสุขภาพครอบครัว การเป็นพยาบาลครอบครัวที่มีการพัฒนาความรู้ นวัตกรรมและแนวทางในการสร้างเสริมดูแลสุขภาพครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้การดูแลสุขภาพและตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของครอบครัวผู้ใช้บริการในกลุ่มต่างๆ ทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย และมีทักษะการจัดการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอน การศึกษาวิจัยและการบริการวิชาการทางสังคมร่วมกับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง คิดวิเคราะห์ สะท้อนคิด และการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้ นำไปสู่การพัฒนาความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวในระบบสุขภาพทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดมั่นแนวปฏิบัติแห่งจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพการพยาบาล อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของบุคคล ครอบครัวและสังคมโดยส่วนรวม รวมทั้งมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการพยาบาลที่มีคุณภาพแก่ครอบครัวผู้ใช้บริการทั้งในสถานบริการสุขภาพและชุมชน
วัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
แผน ก แบบ ก 2
- มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวและสามารถประยุกต์ความรู้รวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพการพยาบาลในระดับสูงได้
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีความสามารถในการวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง
- มีภาวะผู้นำ สามารถบริหารจัดการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและการร่วมมือกับทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลและครอบครัว
แผน ข
- มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวและสามารถประยุกต์ความรู้รวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพการพยาบาลในระดับสูงได้
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีความสามารถในการจัดการโครงการทางวิชาการหรือวิจัยที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ นวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มี
การประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง
- มีภาวะผู้นำ สามารถบริหารจัดการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและการร่วมมือกับทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของบุคคลและครอบครัว
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 รวมตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต
แผน ข รวมตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
จำนวนหน่วยกิต |
|
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ข |
|
1) หมวดวิชาบังคับ 1.1 วิชาแกน 1.2 วิชาเฉพาะสาขา |
22 12 10 |
28 12 16 |
2) หมวดวิชาเลือก |
3 |
3 |
3) วิชาวิทยานิพนธ์ |
12 |
- |
4) วิชาการศึกษาอิสระ |
- |
6 |
3.1.3 รายวิชา |
3.1.3.1 หมวดวิชาบังคับ วิชาแกน 12 หน่วยกิต แผนก ก แบบ ก 2 แผน ข |
**NU 127 101 ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล 3(3-0-6) 3(3-0-6) |
Health System and Leadership in Nursing |
**NU 127 102 ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2(2-0-4) |
Theories and Concepts in Nursing **NU 127 103 การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2(2-0-4) Research and Research Utilization in Nursing **NU 127 104 สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4) 2(2-0-4) Statistics for Nursing Research **NU 127 105 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการรักษาโรคเบื้องต้น สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ 3(3-0-6) 3(3-0-6) Advanced Health Assessment and Primary Medical Care for Nurse Practitioner
วิชาเฉพาะสาขา (10/16 นก.) แผนก ก แบบ ก 2 แผน ข *NU 527 111 การพยาบาลครอบครัว 3(3-0-6) 3(3-0-6) Family Nursing *NU 527 112 สัมมนาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว 1(1-0-2) 1(1-0-2) Seminar of Family Nursing Practitioner
**NU 527 113 สัมมนานวัตกรรมการพยาบาลครอบครัว - 3(3-0-6) Seminar in Family Nursing Innovation *NU 527 211 ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัว 3(0-9-4.5) 3(0-9-4.5) Practice in Family Nursing Practicum **NU 527 212 ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 3(0-9-4.5) 3(0-9-4.5) Practice in Primary Medical Care **NU527 213 ปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการพยาบาลครอบครัว - 3(0-9-4.5) Practice in Family Nursing Innovation Development |
3.1.3.2 หมวดวิชาเลือก (3 หน่วยกิต) **NU 227 403 แนวคิด ทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 1(1-0-2) 1(1-0-2) Concepts, Theories and Roles of Advanced Practice Nurse |
**NU 627 412 การพยาบาลชุมชน 3(2-3-5.5) 3(2-3-5.5) |
Community Nursing |
*NU 927 401 การจัดการทางการพยาบาล 3(2-3-5.5) 3(2-3-5.5) Nursing Management |
**NU 927 404 หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล 3(2-3-5.5) 3(2-3-5.5) Curriculum, Teaching and Learning in Nursing หรือรายวิชาอื่นที่จะเปิดสอนเพิ่มเติมภายหลัง |
3.1.3.3 วิชาวิทยานิพนธ์ 12 นก. |
**NU 527 899 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต |
Thesis |
3.1.3.4 วิชาการศึกษาอิสระ 6 นก. |
**NU 527 897 การศึกษาอิสระ 6 หน่วยกิต |
Independent Study |
สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Nursing Administration |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Nursing Administration) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Nursing Administration) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร a. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาโทแผน ก แบบ ก 2 b. ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา c. การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี d. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง e. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล) |
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ ระดับปริญญาโท หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต ภายหลังการจัดการเรียนการสอน อย่างน้อย 2 ปี ในปีการศึกษา 2562 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการทางการพยาบาล การจัดการทางการพยาบาล และการบริหารการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพภาครัฐหรือเอกชน ทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ สถานประกอบการ และอื่นๆ) ผู้ประกอบการอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และด้านการดูแลสุขภาพในกลุ่มประชากรเป้าหมายเฉพาะ อาจารย์สอนด้านการพยาบาลและการบริหารการพยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิชาการทางด้านสุขภาพและการจัดการทางการพยาบาล และนักวิจัย
|
-
1ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ปรัชญา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่างๆโดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางด้านการบริหารทางการพยาบาล ให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนการมีสมรรถนะ และความสามารถทางการพยาบาลระดับสูงเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ควบคู่กับการบูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล การบริหารจัดการทางการพยาบาล และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาภาวะผู้นำ การเพิ่มความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทั้งจากภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้อย่างสร้างสรรค์ เพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทางการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม การออกแบบการบริหารจัดการทางการพยาบาลและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมของหน่วยงานองค์กร รวมทั้งการพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งนี้โดยมีการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเรียนเป็นศูนย์กลาง ประกอบกับการจัดการเรียนการสอนในหลายรูปแบบตามบริบทและความพร้อมของผู้เรียน ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานบันการศึกษาและที่ทำงานควบคู่กัน ตลอดจนการจัดระบบที่เอื้อต่อการนำผลการศึกษาในหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อนำมาใช้เทียบโอนผลการศึกษากับรายวิชาในหลักสูตร
วัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
แผน ก แบบ ก 2
(1) มีความรอบรู้เชิงลึกในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการบริหารทั่วไป และการบริหารการพยาบาล รวมทั้งศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถที่จะใช้วิจารณญาณอย่างลึกซึ้งในการประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการบริหารการพยาบาลและหรือในการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง เพื่อให้การบริการพยาบาลมีคุณภาพและเกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ
(2) สามารถวิเคราะห์และนำทฤษฏีที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ในการบริหารจัดการด้านต่างๆ ตลอดจนการแก้ปัญหาทางการพยาบาล การบริหารการพยาบาล การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารองค์กรพยาบาล การกำหนดกลยุทธ์ธุรกิจการพยาบาลการจัดการความรู้และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม มีสมรรถนะด้านดิจิทัล (Digital Competancy) สอดคล้องกับยุคสมัยและภาวการณ์ที่ผันแปรได้
(3) สามารถประเมินผลคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาล การบริหารการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ของการบริหารการพยาบาลได้
(4) สามารถทำวิจัยทางด้านการจัดการทางการพยาบาล และการบริหารการพยาบาล ในฐานะที่เป็นนักวิชาการ นักบริหาร และนักวิจัยทางการพยาบาล เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางการพยาบาลและการบริหารการพยาบาลได้
(5) สามารถประยุกต์ใช้งานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมในการพัฒนาระบบการบริหารและระบบการให้บริการทางการพยาบาลได้
(6) สามารถเผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาล การบริหารการพยาบาลให้แก่บุคคลในวิชาชีพ และบุคคลอื่นได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง
(7) ปฏิบัติงานในบทบาทผู้บริหารการพยาบาล แสดงออกตามบทบาทและหน้าที่ผู้บริหารการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
(8) เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาระบบสุขภาพและการพยาบาลในระดับต่างๆ ระบบการบริหารการพยาบาล ร่วมกับบุคลากรในทีมการพยาบาล และสหสาขาวิชาชีพ ให้มีคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ นโยบายสุขภาพแห่งชาติ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
(9) เป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล ในการประกอบธุรกิจสุขภาพรูปแบบต่างๆ
(10) เป็นแบบอย่างที่ดี ในการสนใจใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร พัฒนาวิชาชีพและพัฒนาสังคม
(11) เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
(12) เป็นผู้มีความไวเชิงวัฒนธรรม และมีสมรรถนะด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cross Cultural Competancy)
หลักสูตร
- จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
2. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน 2.1 หลักสูตร 2.1.1 จำนวนหน่วยกิต แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
|
|||||||||||||||||||||
รายวิชา |
|||||||||||||||||||||
หมวดวิชาบังคับ จำนวน 24 หน่วยกิต |
|||||||||||||||||||||
วิชาแกน
|
วิชาเฉพาะสาขา
|
|||||||||||||||||||||||||||
3.1.3.2 หมวดวิชาเลือก
|
|||||||||||||||||||||||||||
3.1.3.3 วิชาวิทยานิพนธ์
|
สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Gerontological Nursing |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้สูงอายุ) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลผู้สูงอายุ) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Gerontological Nursing) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Gerontological Nursing) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร a. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาโทแผน ก แบบ ก 2 b. ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางหัวข้อรายวิชา c. การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี d. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง e. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้สูงอายุ) |
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลด้านผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนในทุกระดับ สถานบริการประกอบการด้านผู้สูงอายุ นักวิชาการในสถาบันการศึกษาพยาบาล และผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ
|
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปรัชญา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้เชิงลึกในการพยาบาลผู้สูงอายุ ที่มีการผสมผสานองค์ความรู้และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลด้านผู้สูงอายุอย่างเชี่ยวชาญและเป็นผู้จัดการสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและสร้างบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้และนวัตกรรมในการบริการพยาบาลด้านผู้สูงอายุอย่างสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพการพยาบาลเฉพาะสาขา ในการจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ มุ่งตอบสนองแนวคิดการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่โมเดล 4.0 เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีสมรรถนะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย Critical Thinking, Collaboration, Communication และ Creativity มีความพร้อมที่จะเป็นนักวิชาการ นักวิจัย นวัตกรและนักปฏิบัติการพยาบาลที่มีความชำนาญด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ โดยมีความเชื่อว่านักศึกษาสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้วิจารณญาณอย่างลึกซึ้ง มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาองค์ความรู้ การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศสำหรับผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) (1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในกระบวนการสูงอายุ ทฤษฎีความสูงอายุ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล ผู้สูงอายุ แนวคิดการดูแลที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ รวมทั้งระบบบริการพยาบาลเอื้ออาทรผู้สูงอายุ และสังคมเอื้ออาทรผู้สูงอายุ (2) มีความสามารถในการบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการดูแลผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลางและเป็น องค์รวม ในการประเมินภาวะสุขภาพ การวางแผนการดูแล การปฏิบัติการพยาบาล และการบำบัดรักษา รวมถึงการจัดการและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลผู้สูงอายุ (3) มีความสามารถวิเคราะห์ปัจจัยเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่มีผลต่อความต้องการด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุและผู้ดูแล/ครอบครัว ในทุกภาวะสุขภาพและบริบท เพื่อนำสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและครอบครัวโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (4) มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุและผู้ดูแล/ครอบครัวได้ทุกภาวะสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือประเมินและจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล พัฒนาส่งเสริมศักยภาพของผู้ดูแลและ/หรือครอบครัวให้สามารถประเมิน ดูแลและจัดการปัญหาได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลเพื่อประเมินผล ปรับปรุงกิจกรรมการพยาบาลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง (5) มีความสามารถในการทำวิจัย การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อการประยุกต์ใช้ในการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ รวมทั้งสามารถออกแบบบริการที่เหมาะสมกับความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและผู้ดูแล/ครอบครัว (6) มีความสามารถในการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติการพยาบาล การออกแบบนวัตกรรมด้านการพยาบาลผู้สูงอายุ การเผยแพร่ผลงานและการแลกเปลี่ยนความรู้ (7) มีภาวะผู้นำทางการพยาบาล ทักษะการทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือกับทีมสหสาขาวิชาชีพ หรือชุมชน เพื่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ การพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงการพยาบาลที่คำนึงถึงการเคารพและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ (8) มีความสามารถในการให้คำปรึกษา และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจปัญหาทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุและครอบครัว เป็นพี่เลี้ยงหรือต้นแบบในการปฏิบัติประยุกต์หลักการด้านคุณภาพและความปลอดภัยมาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ (9) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม สร้างคุณค่าของวิชาชีพและความภาคภูมิใจ รวมทั้งยึดมั่นในจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
|
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
รายวิชา |
|
หมวดวิชาบังคับ จำนวน 21 หน่วยกิต |
|
วิชาแกน (9 หน่วยกิต) |
|
**NU 127 101 ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing Leadership |
3(3-0-6) |
NU 127 102 ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล Theories and Concepts in Nursing |
2(2-0-4) |
**NU 127 103 การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing |
2(2-0-4) |
NU 127 104 สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics for Nursing Research |
2(2-0-4) |
วิชาเฉพาะสาขาวิชา (12 หน่วยกิต) |
|
**NU 427 101 การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุขั้นสูง Advanced Gerontological Health Assessment |
1(1-0-2)
|
**NU 427 102 วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลผู้สูงอายุ Health Science for Gerontological Nursing |
1(1-0-2)
|
**NU 427 103 การพยาบาลผู้สูงอายุ1 Gerontological Nursing I |
1(1-0-2)
|
**NU 427 104 การพยาบาลผู้สูงอายุ2 Gerontological Nursing II |
2(2-0-4)
|
**NU 427 105 การพยาบาลผู้สูงอายุ3 Gerontological Nursing III |
1(1-0-2)
|
*NU 427 201 ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุขั้นสูง Practice in Advanced Gerontological Health Assessment |
1(0-3-1)
|
*NU 427 202 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ1 Practice in Gerontological Nursing I |
2(0-6-3)
|
*NU 427 203 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ2 Practice in Gerontological Nursing II |
2(0-6-3)
|
*NU 427 204 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ3 Practice in Gerontological Nursing III
|
1(0-3-1) |
หมวดวิชาเลือก จำนวน 3 หน่วยกิต |
|
ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้หรือรายวิชาอื่นๆ ที่มีการเปิดสอนในภายหลัง |
|
*NU 227 401 การเขียนทางวิชาการและการเผยแพร่ Academic Writing and Dissemination |
1(1-0-2) |
**NU 227 403 แนวคิด ทฤษฎี และบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง Concepts,Theories and Roles of Advanced Practice Nurse |
1(1-0-2) |
*NU 227 404 ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่คัดสรร Nursing practicum for Advanced Practice Nurses |
2(0-6-3) |
*NU 427 401 สัมมนาวิจัยทางการพยาบาลผู้สูงอายุ Seminar in Gerontological Nursing Research I |
3(3-0-6) |
**NU 427 402 นวัตกรรมทางการพยาบาลผู้สูงอายุ Innovation for Gerontological Nursing |
2(0-6-3) |
*NU 927 401 การจัดการทางการพยาบาล Nursing Management |
3(2-3-5) |
**NU 927 404 หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล Curriculum, Teaching and Learning in Nursing |
3(2-3-5) |
วิชาวิทยานิพนธ์ จำนวน 12 หน่วยกิต |
|
**NU 427 899 วิทยานิพนธ์ Thesis |
12 |
สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
รหัสและชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Adult Nursing |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่) ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Adult Nursing) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Adult Nursing) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 38 หน่วยกิต |
5รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบ
ภาษาที่ใช้
การรับเข้าศึกษา
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
|
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
7. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2561 |
8. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการดูแลผู้ใช้บริการวัยผู้ใหญ่ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ พยาบาลประจำโรงเรียน/สถานประกอบการ และอื่นๆ) ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้สอนด้านการพยาบาลในสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการทางด้านสุขภาพและการพยาบาล และนักวิจัย |
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตเชื่อว่าพยาบาลที่ศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นผู้มีศักยภาพ สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลเฉพาะสาขาได้จากการบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลและสาขาที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจะเป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขา เป็นผู้จัดการสุขภาพ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานด้านต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง พัฒนาและสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้และนวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ transformative learning ที่เน้นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดวิเคราะห์ สะท้อนคิด การสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่สามารถตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในสังคม
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมและเสริมพลังอำนาจผู้ใช้บริการพยาบาลวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน สามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ สามารถใช้เทคโนโลยี และงานวิจัยเป็นฐานในการตัดสินใจและปฏิบัติทางคลินิก มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพและทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้บริการพยาบาลวัยผู้ใหญ่ วางแผนการดูแลโดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการพยาบาล รวมทั้งหลักคุณธรรมและจริยธรรมของวิชาชีพ สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมในการบำบัดทางการพยาบาล การแก้ไขปัญหาสุขภาพและการสร้างเสริมสุขภาพ มีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถใช้ข้อมูลจากการวิจัย ประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล เพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และแสวงหาวิธีการเพื่อแก้ปัญหา สามารถทำวิจัย และมีความเป็นผู้นำในการริเริ่ม ปรับปรุงและ/หรือพัฒนานวัตกรรมในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่บนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีคุณภาพ การผลิตบัณฑิตคำนึงถึงพื้นฐานและประสบการณ์ของผู้เรียนทั้งด้านพื้นฐานการศึกษา พื้นฐานส่วนบุคคล และพื้นฐานทางวัฒนธรรม มีกระบวนการพัฒนาให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีทักษะทางเชาวน์ปัญญา มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และมีทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวคือบัณฑิตสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้จากการผสมผสานองค์ความรู้และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้จัดการสุขภาพได้ นำไปสู่คุณลักษณะของความเป็นพยาบาลระดับมหาบัณฑิตทางการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในสังคมวัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่.และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
- มีความสามารถในการทำวิจัยที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่ การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาทางการพยาบาลผู้ใหญ่บนพื้นฐานของความหลกหลายทางวัฒนธรรม
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการเชิงระบบ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีความสามารถในการบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านสุขภาพที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสมแสดงออกถึงทักษะการเป็นผู้จัดการด้านสุขภาพ และการเป็นผู้นำ การประสานงานและการทำงานเป็นทีมกับสหสาขาวิชาชีพ/เครือข่ายต่างๆ เพื่อให้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
- มีเจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ/วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
หลักสูตร
- จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก2 รวมตลอดหลักสูตร 38 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร |
38 |
หน่วยกิต |
|
แผน ก แบบ ก2 |
|
1) หมวดวิชาบังคับ |
23 |
หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเลือก |
3 |
หน่วยกิต |
3) วิชาวิทยานิพนธ์ |
12 |
หน่วยกิต |
3.1.3 รายวิชา |
|||
3.1.3.1 หมวดวิชาบังคับ 23 หน่วยกิต 3.1.3.1.1 วิชาแกน ( 9 หน่วยกิต) |
|||
**NU 127 101 |
ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing leadership |
3(3-0-6) |
|
NU 127 102 |
ทฤษฏีและแนวคิดทางการพยาบาล Theories and Concepts in Nursing |
2(2-0-4) |
|
**NU 127 103 |
การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing |
2(2-0-4) |
|
NU 127 104 |
สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics for Nursing Research 3.1.3.1.2 วิขาเฉพาะสาขา ( 14 หน่วยกิต) |
2(2-0-4) |
|
**NU 227 101 |
วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลผู้ใหญ่ Health Science in Adult Nursing |
2(2-0-4)
|
|
**NU 227 102 |
การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่ขั้นสูง Advanced Adult Health Assessment |
2(1-2-3) |
|
**NU 227 103 |
การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 Adult Nursing I |
2(2-0-4) |
|
** NU 227104 |
การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 Adult Nursing II
|
2(2-0-4)
|
|
**NU 227 201 |
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 Adult Nursing Practicum I |
2(0-6-3) |
|
**NU 227 202 |
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 Adult Nursing Practicum II |
2(0-6-3) |
|
*NU 227 203 |
นวัตกรรมทางการพยาบาลผู้ใหญ่ Adult Nursing Innovation |
2(0-6-3) |
3.1.3.1 หมวดวิชาบังคับ 23 หน่วยกิต 3.1.3.1.1 วิชาแกน ( 9 หน่วยกิต) |
|||||
**NU 127 101 |
ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing leadership |
3(3-0-6) |
|||
NU 127 102 |
ทฤษฏีและแนวคิดทางการพยาบาล Theories and Concepts in Nursing |
2(2-0-4) |
|||
**NU 127 103 |
การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing |
2(2-0-4) |
|||
NU 127 104 |
สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics for Nursing Research 3.1.3.1.2 วิขาเฉพาะสาขา ( 14 หน่วยกิต) |
2(2-0-4) |
|||
**NU 227 101 |
วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลผู้ใหญ่ Health Science in Adult Nursing |
2(2-0-4)
|
|||
**NU 227 102 |
การประเมินภาวะสุขภาพผู้ใหญ่ขั้นสูง Advanced Adult Health Assessment |
2(1-2-3) |
|||
**NU 227 103 |
การพยาบาลผู้ใหญ่ 1 Adult Nursing I |
2(2-0-4) |
|||
** NU 227104 |
การพยาบาลผู้ใหญ่ 2 Adult Nursing II
|
2(2-0-4)
|
|||
**NU 227 201 |
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 Adult Nursing Practicum I |
2(0-6-3) |
|||
**NU 227 202 |
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 Adult Nursing Practicum II |
2(0-6-3) |
|||
*NU 227 203 |
นวัตกรรมทางการพยาบาลผู้ใหญ่ Adult Nursing Innovation |
2(0-6-3) |
|||
|
3.1.3.1.3 หมวดวิชาเลือก ( 3 หน่วยกิต) |
|
|||
*NU 227 401 |
การเขียนงานวิชาการและการเผยแพร่งานวิชาการ Scholarly writing & dissemination |
1(1-0-2) |
|||
**NU 227 402 |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ Health Behavior Change |
2(1-2-3) |
|||
**NU 227 403 |
แนวคิด ทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง Concepts, Theories and Roles of Advanced Practice Nurse |
1(1-0-2) |
|||
*NU 227 404 |
ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่คัดสรร Nursing practicum for Advanced Practice Nurses |
2(0-6-3)
|
|||
**NU 927 404 |
หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล Curriculum, Teaching and Learning in Nursing |
3(2-3-5) |
**NU227 899 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต |
Thesis |
สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Pediatric Nursing)
วิชาเอก ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
รูปแบบ
- หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2 และแผน ข
ภาษาที่ใช้
- ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา
การรับเข้าศึกษา
- รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
- เป็นหลักสูตรเฉพาะของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
- ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560
- คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 14/2560 วันที่ 19 พฤษภาคม 2560
- สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2560 วันที่ 4 ตุลาคม 2560
- เปิดสอน ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2560
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2562
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความสามารถด้านการพยาบาลเด็ก ประกอบอาชีพในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ เป็นอาจารย์พยาบาล นักการศึกษา นักวิชาการ ผู้บริหารการพยาบาล นักวิจัย ประกอบอาชีพอิสระในงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- ปรัชญา
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่างๆโดยกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตเชื่อว่าพยาบาลที่ศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นผู้มีศักยภาพ สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลเฉพาะสาขาได้จากการผสมผสานขององค์ความรู้ทางทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาพยาบาลที่สำเร็จการศึกษา เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะสาขา เป็นผู้จัดการสุขภาพ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาและสร้างบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาความรู้และนวัตกรรมในการบริการพยาบาลเฉพาะสาขาและแก้ไขปัญหาสุขภาพที่สัมพันธ์กัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดวิเคราะห์ สะท้อนคิด การสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพการพยาบาลเฉพาะสาขา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเด็ก มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกถึงหลักการและทฤษฎีในสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก มีความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลในสาขาวิชาชีพได้ โดยการใช้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นำมาประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีการปฏิบัติงานใหม่ในสาขาวิชาได้อย่างสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาการและวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ สามารถทำวิจัยหรือใช้องค์ความรู้จากผลการวิจัย/หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
การจัดการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ บูรณาการแนวคิด ทฤษฎีทางการพยาบาลเด็ก องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการให้การพยาบาลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี ทั้งในภาวะสุขภาพดี เสี่ยงต่อความเจ็บป่วย มีภาวะเจ็บป่วยในระยะเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต เรื้อรังและระยะสุดท้ายของชีวิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการพยาบาลเด็ก ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแล ฟื้นฟูสุขภาพ และการเป็นผู้จัดการสุขภาพ โดยคำนึงถึงความเป็นบุคคลของเด็ก อย่างเป็นองค์รวมภายใต้บริบทของครอบครัว และเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและ/หรือเทคโนโลยีสุขภาพทางการพยาบาลเด็ก
วัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีการจัดการศึกษาหลายรูปแบบ และมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
แผน ก เป็นแบบ แผน ก แบบ ก 2 เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิชาการ และทักษะการวิจัย ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
- มีความสามารถในการทำวิจัยหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีภาวะผู้นำและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์/บริบทต่าง ๆ
- สามารถผลิตนวัตกรรมทางการพยาบาลเด็กได้
แผน ข เป็นหลักสูตรที่เน้นการผลิตมหาบัณฑิต ที่มีความรู้ความสามารถด้านการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก สามารถใช้ผลการวิจัยในการพัฒนาคุณภาพงานด้านบริการพยาบาลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถศึกษาต่อในระดับวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ขั้นสูงเทียบเท่าปริญญาเอก เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง (advanced practice nurse: APN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก และสามารถประยุกต์ความรู้ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในระดับสูงได้
- มีความสามารถในการสร้างแนวปฏิบัติหรือการจัดการโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ใหม่หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆในสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
- มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง
- มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- มีภาวะผู้นำและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์/บริบทต่าง ๆ
- สามารถผลิตนวัตกรรมทางการพยาบาลเด็กได้
หลักสูตร
จำนวนหน่วยกิต
แผน ก แบบ ก 2 รวมตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต
แผน ข รวมตลอดหลักสูตร 37 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
|
จำนวนหน่วยกิต |
|
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
37 |
37 |
1) หมวดวิชาบังคับ |
|
|
- วิชาแกนของมหาบัณฑิต |
9 |
9 |
- วิชาเฉพาะสาขาวิชา |
13 |
19 |
2) หมวดวิชาเลือก |
3 |
3 |
3) วิชาวิทยานิพนธ์ |
12 |
- |
4) วิชาการศึกษาอิสระ |
- |
6 |
รายวิชา
หมวดวิชาบังคับ
|
จำนวนหน่วยกิต |
|
1) วิชาแกนของมหาบัณฑิต |
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
**NU 127 101 ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
Health System and Nursing Leadership |
|
|
** NU 127 102 ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
Theories and Concepts in Nursing |
|
|
**NU 127 103 การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
** NU 127 104 สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics for Nursing Research |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
2) วิชาเฉพาะสาขาวิชา |
|
|
NU 327 101 วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลเด็ก |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
Health Science for Pediatric Nursing |
|
|
NU 327 102 การพยาบาลเด็กที่คัดสรร |
- |
2(2-0-4) |
Pediatric Nursing in Selected Area |
|
|
NU 327 201 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กที่คัดสรร |
- |
2(0-6-3) |
Pediatric Nursing Practice in Selected Area |
|
|
**NU 327 301 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงทางการพยาบาลเด็ก |
2(1-3-4) |
2(1-3-4) |
Advance Health Assessment in Pediatric Nursing |
|
|
**NU 327 302 การพยาบาลเด็กสุขภาพดีและกลุ่มเสี่ยง |
2(1-3-4) |
2(1-3-4) |
Pediatric Nursing in Wellness and Risk Groups |
|
|
**NU 327 303 การพยาบาลเด็กภาวะเจ็บป่วย |
2(1-3-4) |
2(1-3-4) |
Pediatric Nursing in Illness |
|
|
*NU 327 304 นวัตกรรมและเทคโนโลยีสุขภาพทางการพยาบาลเด็ก |
4 (1-9-6) |
4(1-9-6) |
Innovation and Health Technology in Pediatric Nursing |
|
|
*NU 327 305 สัมมนาปฏิบัติการจัดการรายกรณีทางการพยาบาลเด็ก |
- |
2(1-3-4) |
Seminar in Case Management for Pediatric Nursing Practice |
|
|
หมวดวิชาเลือก
NU 227 401 การเขียนงานวิชาการและการเผยแพร่งานวิชาการ |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
Scholarly Writing & Dissemination |
|
|
NU 227 402 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ |
2(1-2-4) |
2(1-2-4) |
Health Behavior Change |
|
|
NU 227 403 แนวคิด ทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
Concepts, Theories and Roles of Advanced Practice Nurse |
|
|
NU 227 404 ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในกลุ่มผู้ป่วยที่คัดสรร |
2(0-8-6) |
2(0-8-6) |
Nursing practicum for Advanced Practice Nurses |
|
|
NU 327 401 การจัดการอาการทางการพยาบาลเด็ก |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Symptom Management in Pediatric Nursing |
|
|
NU 327 402 การดูแลประคับประคองในเด็กและครอบครัว |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Palliative Care in Children and Family |
|
|
NU 327 403 การสร้างเสริมสุขภาพเด็ก |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Child Health Promotion |
|
|
NU 527 401 การพยาบาลสุขภาพครอบครัว |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Family Health Nursing |
|
|
NU 627 412 การพยาบาลชุมชน |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Community Nursing |
|
|
NU 927 104 การเป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล |
2 (1-2-4) |
2(1-2-4) |
Nursing Entrepreneurship |
|
|
NU 927 401 การจัดการทางการพยาบาล 3(2-4-6 |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Nursing Management |
|
|
NU 927 402 การจัดการพยาบาลในวัฒนธรรมที่หลากหลาย |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Nursing Management in Cultural Diversity |
|
|
NU 927 403 การบริหารโครงการ |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
Project Management |
|
|
NU 927 404 หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล |
3(2-3-6) |
3(2-3-6) |
Curriculum, Teaching and Learning in Nursing |
|
|
วิชาวิทยานิพนธ์
|
หน่วยกิต |
|
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
NU 327 897 การศึกษาอิสระ |
- |
6 |
Independent study |
|
|
NU 327 899 วิทยานิพนธ์ |
12 |
- |
Thesis |
|
|
สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
รหัสและชื่อหลักสูตร |
ภาษาไทย: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต |
ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science in Psychiatric and Mental Health Nursing |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต) ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต) ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Nursing Science (Psychiatric and Mental Health Nursing) ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.N.S. (Psychiatric and Mental Health Nursing) |
วิชาเอก ไม่มี |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางหัวข้อในบางรายวิชา การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี |
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต) |
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
|
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในปีการศึกษา 2563 |
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ พยาบาลประจำโรงเรียน/สถานประกอบการอื่นๆ ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง |
ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปรัชญา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มีความเชื่อในปรัชญาสุขภาพองค์รวม ที่กล่าวว่าการดูแลสุขภาพต้องครอบคลุมทั้งด้านกาย จิต สังคมซึ่งมีความเชื่อมโยงและเป็นพลวัตรต่อกัน ไม่สามารถแยกส่วนได้ และปรัชญามนุษยนิยมที่เชื่อมั่นในธรรมชาติและศักยภาพของบุคคลที่ต้องการพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวหน้า หลักสูตรจึงมุ่งบ่มเพาะทั้งความรู้วิชาการ ทักษะความเชี่ยวชาญและปลูกฝังจิตสำนึกในคุณค่าในการให้การดูแลเพื่อนมนุษย์ด้วยใจเอื้อ (care) ที่มากกว่าการมุ่งขจัดโรคและความผิดปกติ (cure) จัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาศักยภาพคนให้สูงขึ้น สร้างคนให้เป็นนักคิด มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเรียน และการบริการพยาบาลที่ทันสมัย สามารถสร้างรูปแบบการให้บริการที่ตอบโจทย์สถานการณ์สุขภาพที่ซับซ้อน มีความไวในความต่างทางเพศ ภาษา และวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบและเป็นผู้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ มีสติรู้เท่าทันตนเอง ดูแลสุขภาพจิตของตนเองได้ จัดการความเครียดในงานพยาบาลที่มีความจำกัดด้านกำลังคน โดยหลักสูตรจะเอื้อให้เกิดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้บุคคลได้เห็นโอกาสในการพัฒนาตนเอง เรียนอย่างมีความสุขและมีจุดมุ่งหมาย เป็นต้นแบบผู้มีภาวะสุขภาพกายและจิตที่ดี เข้าถึงเป้าหมายของการพยาบาลองค์รวม คือการพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ วัตถุประสงค์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตในรูปแบบการศึกษาต่างๆ ที่มีคุณสมบัติดังนี้ แผน ก แบบ ก 2 (1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และสามารถประยุกต์ความรู้รวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพการพยาบาลในระดับสูงได้ (2) มีความสามารถในการวิจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆ บนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านจิตเวชและสุขภาพจิตที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม (3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง (4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (5) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง (6) มีภาวะผู้นำ สามารถบริหารจัดการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (7) มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและการร่วมมือกับทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเวชและสุขภาพจิต แผน ข (1) มีความรู้ความเข้าใจอย่างเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีสำคัญในสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และสามารถประยุกต์ความรู้รวมถึงข้อมูลเชิงประจักษ์ในการทำวิจัยหรือการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพการพยาบาลในระดับสูงได้ (2) มีความสามารถใช้ผลการวิจัยในการจัดโครงการทางวิชาการที่จะก่อให้เกิดสมรรถนะและความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลเฉพาะสาขา รวมถึงการสร้างนวัตกรรม หรือวิธีปฏิบัติงานใหม่ๆ บนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อบริหารจัดการและแก้ปัญหาด้านจิตเวชและสุขภาพจิตที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างเหมาะสม (3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ที่จะนำไปสู่การพัฒนาความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้าง (4) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (5) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง (6) มีภาวะผู้นำ สามารถบริหารจัดการและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางสร้างสรรค์ รวมทั้งสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (7) มีทักษะในการทำงานเป็นทีมและการร่วมมือกับทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตเวชและสุขภาพจิต |
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน หลักสูตร จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร |
||||
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
||
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร |
36 |
หน่วยกิต |
36 |
หน่วยกิต |
1) หมวดวิชาบังคับ |
|
|
|
|
1.1 วิชาแกน 1.2 วิชาเฉพาะสาขา |
9 12 |
หน่วยกิต หน่วยกิต |
9 18 |
หน่วยกิต หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า |
3 |
หน่วยกิต |
3 |
หน่วยกิต |
3) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 4) การศึกษาอิสระ ไม่น้อยกว่า |
12
- |
หน่วยกิต |
-
6 |
หน่วยกิต |
รายวิชา |
|||
1) หมวดวิชาบังคับ |
|||
วิชาแกน |
แผน ก แบบ ก2 |
แผน ข |
|
**NU127 101 |
ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing Leadership |
3(3-0-6) |
3(3-0-6) |
**NU127 102 |
ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล Theories and Concepts in Nursing |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
NU127 103 |
การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
NU127 104 |
สถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics for Nursing Research |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
2) วิชาเฉพาะสาขา |
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
|
**NU727 101 |
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการเจ็บป่วยทางจิต สำหรับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต Concepts and Theories of Mental Illness for Psychiatric and Mental Health Nursing |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
**NU727 102 |
การประเมินและรูปแบบการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูง Assessment and Therapeutic Modalities in Advanced Psychiatric and Mental Health Nursing |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
*NU727 103 |
สัมมนานวัตกรรมประเด็นทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตที่คัดสรร Seminar of Psychiatric and Mental Health Innovation Issues in Selected Area |
2(2-0-4) |
2(2-0-4) |
**NU727 104 |
สัมมนาบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตขั้นสูงในการพัฒนางานประจำ |
- |
3(3-0-6) |
|
Seminar of Advanced Psychiatric Mental Health Nursing’ s Role in Work Improvement |
|
|
NU727 201 |
ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 1 Practice in Psychiatric and Mental Health Nursing I |
3(0-9-6) |
3(0-9-6) |
NU727 202
NU727 203 |
ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2 Practice in Psychiatric and Mental Health Nursing II
ปฏิบัติการทักษะจิตบำบัดขั้นสูงในประชากรเป้าหมาย Practice of Advanced Psychotherapeutic Skills in Targeted Population |
3(0-9-6) - |
3(0-9-6)
3(0-9-6) |
3) หมวดวิชาเลือก จำนวน 3 หน่วยกิต |
|||
|
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข
|
|
NU227 401 |
การเขียนวิชาการและการเผยแพร่งานวิชาการ Scholarly Writing & Dissemination
|
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
NU227 403 |
แนวคิดทฤษฎีและบทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง Concepts, Theories, and Roles of Advanced Practice Nurse |
1(1-0-2) |
1(1-0-2) |
NU527 401 |
การพยาบาลสุขภาพครอบครัว Family Health Nursing |
3 (2-3-6) |
3(2-3-6)
|
NU727 402 |
พุทธรรมกับสุขภาพจิต Buddhist Morality and Mental Health |
2(1-2-4) |
2(1-2-4) |
NU727 403 |
เพศสภาวะกับสุขภาพจิต Gender and Mental Health |
2(2-0-4) |
2(2-0-4)
|
NU927 104
|
การเป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล Nursing entrepreneurship
|
2(1-2-4)
|
2(1-2-4)
|
NU927 404 |
หลักสูตรและการเรียนการสอนทางการพยาบาล Curriculum, Teaching and Learning in Nursing |
3 (2-3-6)
|
3 (2-3-6) |
4) วิชาวิทยานิพนธ์ |
แผน ก แบบ ก 2 |
แผน ข |
|
NU727 899 |
วิทยานิพนธ์ Thesis |
12 |
- |
5) วิชาการศึกษาอิสระ |
|
|
|
NU727 897 |
การศึกษาอิสระ Independent Study |
|
6 |
* หมายถึง วิชาใหม่ ** หมายถึง วิชาเปลี่ยนแปลงใหม่ |
- |
|