หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557)
ภาษาอังกฤษ : Program of Practical Nursing
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557)
ภาษาอังกฤษ : Certificate in Practical Nursing Program
หน่วยงานที่รับผิดชอบ :
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และฝ่ายการพยาบาล
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและเหตุผล :
จากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้มีผู้ป่วยรอดชีวิตเพิ่มขึ้น ยังผลให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยเรื้อรัง และยังพบจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการขยายตัวด้านความต้องการการรักษาพยาบาล ส่งผลให้สถานบริการด้านสุขภาพ ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน มีการขยายการบริการ ก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาล ทั้งในระดับพยาบาลวิชาชีพ และผู้ช่วยพยาบาล และสภาการพยาบาลมีนโยบายที่ต้องการให้คณะพยาบาลศาสตร์เป็นผู้ผลิตผู้ช่วยพยาบาลเพื่อควบคุมคุณภาพ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อพัฒนาศาสตร์ความรู้ทางการพยาบาล ผลิตบุคลากรทางการพยาบาล แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางด้านการพยาบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงได้ร่วมกับฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จัดทำโครงการผลิตผู้ช่วยพยาบาลเพื่อช่วยเหลืองานทางการแพทย์และการพยาบาล ในด้านการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือแพทย์ ตลอดจนการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยในขั้นพื้นฐาน ภายใต้การควบคุมดูแลของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล ระยะแรก (ปี 2552-2556) ระยะที่สอง (ปี 2557-2561)
ทางคณะพยาบาลศาสตร์ได้ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลตั้งแต่ ปี 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน (ปี 2561) เพื่อร่วมพัฒนาความรู้ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการพยาบาลระดับผู้ช่วยพยาบาล รวมทั้งเป็นการสร้างงานอาชีพให้กับประชากรของประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร : หลักสูตรนี้ มีความมุ่งหวังให้ผู้สำเร็จการอบรม มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- สามารถช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยที่มีอาการอยู่ในระยะไม่รุนแรง หรืออยู่ในระยะที่ไม่เป็นอันตราย โดยอยู่ในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
- มีทัศนคติที่ดีต่อการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และสามารถให้ความร่วมมือกับบุคลากรในทีมสุขภาพได้
- มีคุณธรรมและจริยธรรม
ระบบการอบรม :
ใช้ระบบหน่วยกิต ประเมินผลตามระเบียบของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวิชาการบรรยาย การสาธิตการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาล และการฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย มีการคิดหน่วยกิต ดังนี้
- ภาคทฤษฎี มีการอบรมไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการอบรม เท่ากับ 1 หน่วยกิต
- การฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาล มีการฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการอบรมเท่ากับ 1 หน่วยกิต
- การฝึกปฏิบัติบนหอผู้ป่วย มีการฝึกปฏิบัติไม่น้อยกว่า 60 ชั่วโมงต่อภาคการอบรม เท่ากับ 1 หน่วยกิต
ระยะเวลาการอบรม :
หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล ผู้เข้าอบรมจะต้องมีระยะเวลาการอบรม 3 ภาคการอบรม แต่ไม่เกิน 6 ภาคการอบรม โดยต้องอบรมครบหน่วยกิตตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร คือ 36 หน่วยกิต
การลงทะเบียนอบรม :
- ผู้เข้าอบรมต้องลงทะเบียนในแต่ละภาคการอบรม พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการอบรมตามที่กำหนด
- ผู้เข้าอบรมที่ไม่มาลงทะเบียนภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคการอบรม จะถูกตัดสิทธิ์การลงทะเบียนในภาคการอบรมนั้น
- การลงทะเบียนอบรมในแต่ละภาคการอบรม จะต้องเป็นไปตามแผนกำหนดการอบรมของหลักสูตร
การวัด และประเมินผลการอบรม :
- ให้มีการวัดและประเมินผลกระบวนวิชาที่ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนอบรมไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อ ภาคการอบรม
- ผู้เข้าอบรมจะต้องมีเวลาอบรมในแต่ละกระบวนวิชาไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของเวลาอบรมใน แต่ละวิชาจึงจะมีสิทธิ์ได้รับการวัดและประเมินผลในกระบวนวิชานั้นๆ
- ใช้ระบบลำดับขั้นและค่าลำดับขั้นในการวัดและประเมินผล
ลำดับขั้น กำหนดเป็นตัวอักษร A B+ B C+ C D+ D และ F ซึ่งแสดงถึงผลของการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรมแต่ละกระบวนวิชาและมีความหมายดังนี้
A |
ผลการประเมินขั้นดีเยี่ยม (Excellent) |
4.0 |
(เท่ากับร้อยละ 80) |
B+ |
ผลการประเมินขั้นดีมาก (Very good) |
3.5 |
(เท่ากับร้อยละ 75) |
B |
ผลการประเมินขั้นดี (Good) |
3.0 |
(เท่ากับร้อยละ 70) |
C+ |
ผลการประเมินขั้นค่อนข้างดี (Fairy good) |
2.5 |
(เท่ากับร้อยละ 65) |
C |
ผลการประเมินขั้นพอใช้ (Fair) |
2.0 |
(เท่ากับร้อยละ 60) |
D+ |
ผลการประเมินขั้นอ่อน (Poor) |
1.5 |
(เท่ากับร้อยละ 55) |
D |
ผลการประเมินขั้นอ่อนมาก (Very poor) |
1.0 |
(เท่ากับร้อยละ 50) |
F |
ผลการประเมินขั้นตก (Fail) |
0 |
|
ตัวอักษรอื่นๆ ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์และมีความหมายเฉพาะซึ่งแสดงสภาพการอบรม คือ I และ W
ตัวอักษรเหล่านี้ไม่มีค่าคะแนน
สัญลักษณ์ |
ความหมาย |
|
I |
หมายถึง |
ผลการอบรมยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete) |
W |
หมายถึง |
ถอนวิชาอบรมแล้ว (Withdrawn) |
สำหรับค่าคะแนน I ต้องแก้ให้เสร็จสิ้น ก่อนภาคการอบรมถัดไป
- ในการวัดและประเมินผลแต่ละกระบวนวิชา จะต้องสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 60 ของ คะแนนรวมในแต่ละวิชานั้นๆ
- กระบวนวิชาภาคทฤษฎี และวิชาภาคปฏิบัติแต่ละวิชาจะต้องได้ลำดับขั้นไม่ต่ำกว่า C แต่ถ้า ผู้เข้าอบรมได้ลำดับขั้นไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวนี้ จะต้องวัดและประเมินผลใหม่
- ในการวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติแต่ละวิชา
- ถ้าได้ลำดับขั้นต่ำกว่า C ไม่เกิน 1 กระบวนวิชา ให้ฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมแล้วให้วัดและ ประเมินผลใหม่ และถ้าซ้ำภาคปฏิบัติแล้วผ่านจะได้คะแนนไม่เกิน C
- เมื่อฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม ถ้ากระบวนวิชาต่ำกว่า C อีก จะต้องเรียนซ้ำ
- ในกรณีที่ผู้เข้าอบรมเรียนครบตลอดหลักสูตร แต่มีระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ถึง 2.00 ให้ผู้เข้าอบรม ลงเรียนกระบวนวิชาที่ได้ลำดับขั้นต่ำกว่า C เพื่อทำการวัดและประเมินผลใหม่ (Regrade ) และให้นับเฉพาะลำดับขั้นสุดท้ายเท่านั้น
อาจารย์ผู้สอน :
เป็นอาจารย์จากสายการพยาบาลในคณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมรับผิดชอบสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีพยาบาลวิชาชีพจากกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ร่วมรับผิดชอบในการฝึกภาคปฏิบัติ
|
|
กระบวนวิชา |
จำนวนหน่วยกิต |
||
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : |
|
||||
|
261 031 |
ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ |
2 |
||
|
261 032 |
พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ |
2 |
||
|
261 041 |
การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม ในการให้บริการสุขภาพ |
2 |
||
รวมหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทั้งหมด : |
6 |
||||
|
|
||||
หมวดวิชาเฉพาะ : วิชาภาคทฤษฎี |
จำนวนหน่วยกิต |
||||
|
261 010* |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเด็ก |
2 |
||
|
261 011* |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 |
2 |
||
|
261 012 |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 |
1 |
||
|
261 013 |
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น |
2 |
||
|
261 014 |
ระบบการจัดการเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วย |
1 |
||
|
261 015 |
หลักกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน |
1 |
||
|
261 016 |
สุขภาพ อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม |
1 |
||
|
261 017 |
ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบุรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพยาบาล |
2
|
||
|
261 018 |
การช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต |
1 |
||
|
261 019 |
การช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา |
2 |
||
|
261 021* |
เทคนิคการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน |
4 |
||
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะภาคทฤษฎี : |
19 |
||
หมวดวิชาเฉพาะ : วิชาภาคปฏิบัติ |
จำนวนหน่วยกิต |
||||
|
261 001 |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 1 |
3 |
||
|
261 002 |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 2 |
4 |
||
|
261 003** |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 3 |
4 |
||
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะภาคปฏิบัติ : |
11
|
||
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ : |
30
|
|
|
|
กระบวนวิชา |
จำนวนหน่วยกิต |
||||||
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : |
|
||||||||
|
|
261 031 |
ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ |
2 |
||||||
|
|
261 032 |
พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ |
2 |
||||||
|
|
261 041 |
การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม ในการให้บริการสุขภาพ |
2 |
||||||
|
รวมหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทั้งหมด : |
6 |
||||||||
|
|
|
||||||||
|
หมวดวิชาเฉพาะ : วิชาภาคทฤษฎี |
จำนวนหน่วยกิต |
||||||||
|
|
261 010* |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเด็ก |
2 |
||||||
|
|
261 011* |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 |
2 |
||||||
|
|
261 012 |
การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 |
1 |
||||||
|
|
261 013 |
กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น |
2 |
||||||
|
|
261 014 |
ระบบการจัดการเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วย |
1 |
||||||
|
|
261 015 |
หลักกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน |
1 |
||||||
|
|
261 016 |
สุขภาพ อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม |
1 |
||||||
|
|
261 017 |
ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการบุรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการพยาบาล |
2
|
||||||
|
|
261 018 |
การช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต |
1 |
||||||
|
|
261 019 |
การช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา |
2 |
||||||
|
|
261 021* |
เทคนิคการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน |
4 |
||||||
|
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะภาคทฤษฎี : |
19 |
||||||
|
หมวดวิชาเฉพาะ : วิชาภาคปฏิบัติ |
จำนวนหน่วยกิต |
||||||||
|
|
261 001 |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 1 |
3 |
||||||
|
|
261 002 |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 2 |
4 |
||||||
|
|
261 003** |
การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 3 |
4 |
||||||
|
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะภาคปฏิบัติ : |
11
|
||||||
|
|
|
รวมหมวดวิชาเฉพาะทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ : |
30
|
||||||
|
หมายเหตุ : |
* ถ้าสอบไม่ผ่านจะไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 2 ** ถ้าสอบไม่ผ่านทุกวิชาจะไม่สามารถขึ้นฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 3
|
||||||||
|
แผนการอบรม : การจัดการอบรมประกอบด้วย ภาคการอบรมที่ 1, 2 (15 สัปดาห์/ภาคการอบรม) และภาคการอบรมที่ 3 (8 สัปดาห์)
|
|||||||||
|
ภาคการอบรม |
|
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ |
|||||||
|
ภาคการอบรมที่ 1 : |
หน่วยกิต |
บรรยาย |
ปฏิบัติการ |
||||||
|
261 001 การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 1 |
3 |
0 |
12 |
||||||
|
261 010 การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยเด็ก |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
261 011 การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
261 013 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
261 021 เทคนิคการช่วยเหลือดูแลผู้ใช้บริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน |
4 |
2 |
6 |
||||||
|
261 031 ภาษาอังกฤษและศัพท์ทางการแพทย์ |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
261 032 พัฒนาการตามวัยกับความต้องการของมนุษย์ |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
รวม |
17 |
12 |
18 |
||||||
|
หมายเหตุ : จำนวนชั่วโมงเรียน / สัปดาห์ เป็นวิชาภาคทฤษฎี 12 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติการ 18 ชั่วโมง รวมทั้งหมดเป็น 30 ชั่วโมง / สัปดาห์ |
|||||||||
|
|
|||||||||
|
ภาคการอบรม |
หน่วยกิต |
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ |
|||||||
|
ภาคการอบรมที่ 2 : |
|
บรรยาย |
ปฏิบัติการ |
||||||
|
261 002 การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 2 |
4 |
0 |
16 |
||||||
|
261 012 การช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 |
1 |
1 |
0 |
||||||
|
261 014 ระบบการจัดการเกี่ยวกับอาหารสำหรับผู้ป่วย |
1 |
1 |
0 |
||||||
|
261 015 หลักกฎหมายและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน |
1 |
1 |
0 |
||||||
|
261 016 สุขภาพ อนามัยส่วนบุคคลและสิ่งแวดล้อม |
1 |
1 |
0 |
||||||
|
261 017 ระบบการทำงานหน่วยบริการสุขภาพและการ บำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และการพยาบาล |
2 |
1.5 |
1.5 |
||||||
|
261 018 การช่วยเหลือดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิต |
1 |
1 |
0 |
||||||
|
261 019 การช่วยเหลือดูแลด้านสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา |
2 |
2 |
0 |
||||||
|
261 041 การสื่อสารและการทำงานเป็นทีม ในการให้บริการสุขภาพ |
2 |
1.5 |
1.5 |
||||||
|
รวม |
15 |
10 |
19 |
||||||
|
หมายเหตุ : จำนวนชั่วโมงเรียน / สัปดาห์ เป็นวิชาภาคทฤษฎี 10 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 19 ชั่วโมง รวมทั้งหมดเป็น 29 ชั่วโมง / สัปดาห์ |
|||||||||
ภาคการอบรม |
หน่วยกิต |
ชั่วโมงต่อสัปดาห์ |
|
ภาคการอบรมที่ 3 : |
|
บรรยาย |
ปฏิบัติการ |
261 003** การฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย 3 |
4 |
0 |
30 |
รวม |
4 |
0 |
30 |
หมายเหตุ : * เป็นวิชาฝึกปฏิบัติการใช้เวลาฝึกปฏิบัติวันละ 8 ชั่วโมง 8 สัปดาห์ รวมทั้งหมด 240 ชั่วโมง |
คำอธิบายการใช้เวลาอบรม : |
|||
|
ในแต่ละรายวิชาได้กำหนดเวลาที่ใช้การอบรมเป็นสัญลักษณ์ .....(0-0-0) ดังนี้ |
||
|
..... ตัวเลขตัวแรก หมายถึง จำนวนหน่วยกิตของวิชา |
||
|
(0-0-0) ตัวเลขในวงเล็บ แบ่งเป็น 3 ตัว คือ |
||
|
ตัวเลขตัวที่ 1 |
หมายถึง จำนวนชั่วโมงเรียนภาคทฤษฎีต่อ 1 หน่วยกิต/สัปดาห์ |
|
|
ตัวเลขตัวที่ 2 |
หมายถึง จำนวนชั่วโมงเรียนภาคปฏิบัติต่อ 1 หน่วยกิต/สัปดาห์ |
|
ตัวเลขตัวที่ 3 |
หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่กำหนดให้ผู้เข้าอบรมใช้เวลาศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเวลาเรียนต่อสัปดาห์ |