ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนามากขึ้นในเรื่อยๆแต่โรคภัยต่างๆก็คุกคามมนุษย์มากขึ้น เช่น ภัยสุขภาพที่คุกคามมนุษย์มากที่สุด คือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำรงชีวิตทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังการจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพเฉพาะหรือกลุ่มโรคเฉพาะ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการสุขภาพได้ในเวลาที่เหมาะสม ปลอดภัย มีคุณภาพ สอดคล้องกับเป้าหมายของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินั้น จำเป็นต้องมีบุคลากรสุขภาพที่นอกจากมีการพัฒนาความรู้ความสามารถเท่าทันกับความรุนแรงซับซ้อนของปัญหาสุขภาพเฉพาะกลุ่มเฉพาะโรค และเท่าทันความก้าวหน้าของวิทยาการในวิธีการการจัดการปัญหาร่วมกับทีมสุขภาพและเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอแล้วการส่งเสริมสุขภาพและเยียวยาองค์รวมมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับบุคลากรสุขภาพ ให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างองค์รวม โดยเฉพาะด้านการใช้การบำบัดเสริม (Complementary modality) ในการเยียวยาตนเอง และบำบัดเยียวยาผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการสร้างความสมดุลในร่างกาย
23 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้อง 6706 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ เทศบาลนครขอนแก่น ศูนย์เยาวชนและครอบครัว เทศบาลนครขอนแก่น SKT ขอนแก่น และกองทุนสุขภาพ เทศบาลนครขอนแก่น เปิดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสมาธิบำบัด SKT ทางเลือกใหม่ไร้โรค เพื่อให้มีความรู้และทักษะในการใช้สมาธิบำบัดแบบ SKT โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี ผู้คิดค้นและพัฒนาสมาธิบำบัด SKT ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดประสบการณ์การฝึกสมาธิบำบัดที่ประสานแนวคิดและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา สังคมวิทยา และศาสนศาสตร์ ที่อาศัยการเชื่อมโยงของการปฏิบัติสมาธิกับการทำงานของระบบประสาท การควบคุมประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า การควบคุมและฝึกระบบประสาทสัมผัส ทั้ง 6 ได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น การสัมผัส การเคลื่อนไหว มีผลต่อการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์ และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ระบบไหลเวียนของเลือด และปรากฏการณ์เหนือวิทยาศาสตร์ระบบอื่นๆในร่างกายได้ ดังนั้นการฝึกสมาธิด้วยวิธีจิตประสานกาย หรือสมาธิบำบัดแบบ SKT จึงยืนยันได้ว่าช่วยพัฒนาร่างกายให้สามารถเยียวยาตัวเองได้ สามารถบำบัดและรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆได้ผลโดยมีหลักการสำคัญคือการปรับการทำงานร่างกายทั้งระบบให้อยู่ในภาวะปกติ และยิ่งกว่านั้นยังเป็นวิธีการที่สามารถนำมาช่วยบำบัดผู้ป่วยในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ โดยการอบรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2563
![]() |
![]() |