หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:       พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science Program in Adult and Gerontological Nursing

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):       พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):        พย.ม. (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) :  Master of Nursing Science (Adult and Gerontological Nursing)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ)  :  M.N.S. (Adult and Gerontological Nursing )

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
36   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษบางหัวข้อในบางรายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 26/2564 วันที่ 21 ธันวาคม 2564
สภาวิชาการ มหาวิทยาลัย เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 /2565วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565.
สภามหาวิทยาลัย  เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2565  วันที่ 2 มีนาคม 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
           เป็นพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการดูแลผู้ใช้บริการวัยผู้ใหญ่ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ พยาบาลประจำโรงเรียน/สถานประกอบการ และอื่นๆ) ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้สอนด้านการพยาบาลในสถาบันอุดมศึกษา นักวิชาการทางด้านสุขภาพและการพยาบาล และนักวิจัย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

รศ.ดร.ชัจคเณค์ แพรขาว

ผศ.ดร.นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์

ผศ.ดร.ดลวิวัฒน์ แสนโสม

ปรัชญา

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเชื่อว่าพยาบาลที่ศึกษาในระดับมหาบัณฑิตเป็นผู้มีศักยภาพ  สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกและการวิจัยด้านการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สามารถบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน ทั้งที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาลและในระยะเปลี่ยนผ่านโดยกระบวนการเรียนรู้แบบ transformative learning  มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจะเป็นผู้ที่มีความรู้และสมรรถนะทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เป็นนักวิจัยและนวัตกร  เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ  และเป็นพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพ สามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   มีความคิดสร้างสรรค์ มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ   มีความไวเชิงวัฒนธรรม พัฒนาและสร้างระบบการดูแลสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การพยาบาลที่สามารถตอบสนอง ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทุกระดับสุขภาพ

วัตถุประสงค์

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

      1. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ทั้งในการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยและงานวิชาการ
      2. มีความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสตร์ด้านพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
      3. บูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการปฏิบัติการพยาบาลและการจัดการรายกรณี สำหรับผู้ใช้บริการวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาซับซ้อนและ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
      4. เป็นผู้นำทางคลินิก ทำงานร่วมกับบุคลากรทีมสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง สื่อสารและสร้างสัมพันธภาพกับผู้ใช้บริการและครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ มีความไวเชิงวัฒนธรรมและมีวัฒนธรรมทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
      5. ความฉลาดด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ สามารถเผยแพร่ผลงานวิชาการและวิจัยได้อย่างมีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
        2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางการพยาบาลขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเคียงได้
        3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิชาชีพ มาอย่างน้อย 1 ปี 
        4. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งจากสภาการพยาบาลที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ
        5. ในกรณีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ (2) และ (3)  ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้หากมีการรับนักศึกษาต่างชาติให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรหรือมีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนจากประเทศของตน
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก236หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ21หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก 3หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU 127 101ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
2(2-0-4)
**NU 127 102 การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
2(2-0-4)
**NU 227 101วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Health Science in Adult and Gerontological Nursing
2(2-0-4)
*NU 227 102สารัตถะการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Essence of Adult and Gerontological Nursing
2(2-0-4)
NU 227201ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะซับซ้อน 13(0-9-6)
รวมจำนวนหน่วยกิต ลงทะเบียนเรียน11
รวมจำนวนหน่วยกิต สะสม11
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU 127 103วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistics Methods for Nursing Research
2(2-0-4)
**NU 127 104ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health System and Nursing Leadership
3(3-0-4)
* NU 227 103 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพซับซ้อน
Adult and gerontological nursing for complex health problems
2(2-0-4)
**NU 227 202ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพซับซ้อน 2
Adult and gerontological nursing practicum for complex health problems II
3(0-9-6)
XXX XXXวิชาเลือก3
รวมจำนวนหน่วยกิต ลงทะเบียนเรียน13
รวมจำนวนหน่วยกิต สะสม24
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU 227 899วิทยานิพนธ์
Thesis
9
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน9
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม33
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU 227 899วิทยานิพนธ์
Thesis
9
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน9
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม36
รหัสวิชาคำอธิบายรายวิชาหน่วยกิต
NU 127 101 ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
ศาสตร์ทางการพยาบาล กระบวนทัศน์ทางการพยาบาล ทฤษฎีทางการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล ปรากฏการณ์ทางการพยาบาล ความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ทางการพยาบาล ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติการพยาบาล และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีทางการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีอื่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาล
Nursing science, metaparadigm, nursing theories, related concepts and theories, nursing phenomena, the relations among phenomenon, theory, research, and practice in nursing; the application of nursing theories, and related concepts and theories to nursing practice.
2(2-0-4)
NU 127 102 การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Research and Research Utilization in Nursing
แนวคิดและหลักการวิจัยทางการพยาบาล การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ การออกแบบการวิจัยทางการพยาบาล การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยทางการพยาบาล การวิเคราะห์ข้อมูล จริยธรรมการวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย การใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ การประเมินคุณค่าและการสังเคราะห์งานวิจัย การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
Concepts and principles of research in nursing, integrative literature review, research designs in nursing, development of nursing research instrument, data analysis, research ethics, research dissemination, research utilization in nursing and evidence-based nursing practice, research appraisal and synthesis, writing of research proposal
2(2-0-4)
NU 127 103 วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4)
Statistical Methods for Nursing Research
เงื่อนไขของรายวิชา ไม่มี
แนวคิดพื้นฐานทางสถิติ สถิติเชิงบรรยาย การแจกแจงความน่าจะเป็น การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน การใช้งานโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนที่มีการวัดซ้ำ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงเส้น การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและพหุคูณ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์สถิติที่ไม่ใช้พารามิเตอร์ และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
Basic statistical concepts, descriptive statistics, probability distributions, estimation and hypothesis testing, using the SPSS program, mean different analysis, one-way analysis of variance, repeated measures analysis of variance, correlation analysis, simple and multiple linear regression, factor analysis, non-parametric analysis and logistic regression analysis
2(2-0-4)
NU 127 104 ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล 3(3-0-6)
Health System and Nursing Leadership
เงื่อนไขของรายวิชา ไม่มี
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสุขภาพ สถานการณ์สุขภาพในปัจจุบัน นโยบายสุขภาพ กระบวนการพัฒนานโยบายสุขภาพ สารสนเทศเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข การเงินการคลังทางด้านสุขภาพ กฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับสุขภาพ แนวคิดเกี่ยวกับ ภาวะผู้นำทางการพยาบาลและความเป็นผู้ประกอบการ การพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำทางการพยาบาล ภาวะผู้นำทางการพยาบาลกับการ จัดการทรัพยากรและการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล แนวโน้มวิชาชีพการพยาบาลและประเด็นการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล
Concepts of health system, current situations of health, health policy, process of health policy development, informatics of health system and health policy development, health economics, health care financing, laws and ethics related to health, concepts of nursing leadership and entrepreneurship, nursing leadership competency development, nursing leadership in resource management and nursing care quality improvement, trends of nursing profession and issues in nursing workforce shortage development, nursing leadership in resource management and nursing care quality improvement
3(3-0-6)
NU 227 101 วิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
Health Science in Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
พยาธิสรีรวิทยาของโรคและความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ยาที่ใช้ในการรักษาโรคและความผิดปกติที่พบบ่อย และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
Pathophysiology of common diseases and disorders in adult and the older adults; drugs used in treatments of common diseases and disorder; rational drug uses in adults and the older adults.
2(2-0-4)
NU 227 102 สารัตถะการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2(2-0-4)
Essence of Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุต่อการเสียสมดุลด้านต่างๆ ภาวะพฤฒพลังกลุ่มอาการของ ผู้สูงอายุและผู้สูงอายุเปราะบาง ความสูงวัยและเส้นทางชีวิตสุขภาพ วิถีการเจ็บป่วย ผลกระทบและการตอบสนองอย่างเป็นองค์รวมต่อการเจ็บป่วยระยะ วิกฤต ฉุกเฉิน เฉียบพลัน เรื้อรัง และระยะท้ายของผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ประเด็นเชิงจริยธรรมและความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ปัญหา แนวโน้มและหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาล ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
Concepts and theories related to disequilibrium of body systems in adult and gerontological nursing; active ageing, geriatric syndrome and frailty, ageing life course; illness trajectory, impacts of illnesses and holistic response to disequilibrium in adult and older adults; ethical issues and cultural diversity in adult and gerontological nursing; problems, trends and evidence-based in adult and gerontological nursing
2(2-0-4)
NU 227 103 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพซับซ้อน 2(2-0-4)
Adult and gerontological nursing with complex health problems
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี แนวคิดและหลักการจัดการรายกรณี การจัดการตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การเสริมพลังอำนาจ การส่งเสริมและการฟื้นฟูสุขภาพ การดูแลต่อเนื่องและการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน การดูแลประคับประคอง การจัดการข้อมูล การจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล การประกอบการพยาบาลอิสระ และแนวคิดการพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล
Concepts and principles of case management, self-management, health literacy, empowerment, health promotion and rehabilitation, continuing and transitional care, palliative care; data management, nursing outcome management, nursing entrepreneurship; concepts of nursing innovation development.
2(2-0-4)
NU 227 201 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพซับซ้อน 1 3(0-9-6)
Adult and gerontological nursing practicum for complex health problems I
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
การบูรณาการ ทฤษฎี ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การประเมินสุขภาพขั้นสูง การเลือกใช้เครื่องมือประเมินภาวะสุขภาพ การประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยตรง เพื่อตอบสนองปัญหาอย่างเป็นองค์รวม สำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทุกระยะการเจ็บป่วย โดยคำนึงถึงประเด็นเชิงจริยธรรมและความไวเชิงวัฒนธรรม
Integration of theory, empirical knowledge in nursing and health sciences related to adult and older adults; advanced health assessment; selection of health assessment tools; application of research evidence to provide direct care in response to holistic needs of adult and older adult clients throughout illness continuum with ethical consideration and cultural sensitivity
3(0-9-6)
NU 227 202 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพซับซ้อน 2 3(0-9-6)
Adult and gerontological nursing practicum for complex health problems II
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
บูรณาการแนวคิดการจัดการรายกรณี การพัฒนานวัตกรรมและระบบการดูแล ความรู้เชิงประจักษ์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับผู้ใช้บริการผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ในประเด็นที่คัดสรร
Integration of case management principles, development of innovation and care system, empirical nursing knowledge and related science to manage nursing outcomes for adult and older adults in selected health issues
3(0-9-6)
NU 227 401 การเขียนงานวิชาการและการเผยแพร่งานวิชาการ 3(2-2-5)
Scholarly Writing & Dissemination
หลักการเขียนงานหรือเอกสารวิชาการ ประเภทของงานวิชาการ กระบวนการขั้นตอนในการเขียนงานวิชาการ จริยธรรมในการเขียนงานวิชาการ การทบทวนวรรณกรรม การประเมินคุณค่างานวิชาการ วิธีการเผยแพร่งานวิชาการ การเตรียมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์
Principles of academic writing; types of academic manuscripts; process and steps in academic writing; literature review; academic paper appraisal; ethics in academic writing and dissemination of academic works; manuscript writing
3(2-2-5)
NU 227 402 การพยาบาลแบบประคับประคอง 3(2-3-6)
Palliatives Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา : ไม่มี
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง ระบบบริการสุขภาพและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคอง การจัดการดูแลแบบประคับประคอง การจัดการอาการ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะท้าย การจัดการผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง การสื่อสารและการให้การปรึกษา กระบวนการพยาบาลในภาวะใกล้ตายและภายหลังการตาย ประเด็นจริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฝึกปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในพื้นที่บริการต่างๆ โดยมีความไวเชิงวัฒนธรรม
Concepts of palliative care, system and policies related to palliative care, palliative care management, symptom management, end-of-life quality of life promotion, palliative care outcome management, communication and counseling, nursing process in end-of-life and after-death, ethics and relevant legal issues; palliative care nursing practicum in diverse settings with cultural sensitivity
3(2-3-6)
NU 227 403 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุขั้นสูง 3(2-3-6)
Advanced Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา : ไม่มี
การพยาบาลขั้นสูงแบบองค์รวมในกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพที่คัดสรร การพยาบาลโดยตรงขั้นสูง การจัดการรายกรณี การเสริมสร้างพลังอำนาจ การจัดการตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความไวเชิงวัฒนธรรม การสร้างฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนาการดูแล ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงสำหรับผู้ใช้บริการผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วย
Advanced holistic nursing among adult and older adult clients in selected health problems, advanced direct nursing care, case management, empowerment, self-management, health literacy, cultural sensitivity, development of database for care improvement, advanced nursing practice for adult and older adult clients
3(2-3-6)
NU 227 404 สารสนเทศดิจิทัลในการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 3(2-3-6)
Digital health informatics in adult and gerontological nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศดิจิทัลทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ บทบาทและสมรรถนะหลักของพยาบาลในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบบริการสุขภาพ ประเด็นและแนวโน้มต่อการใช้และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ประโยชน์และความเสี่ยงจากการใช้สื่อดิจิทัลต่อวิชาชีพและผู้ใช้บริการสุขภาพ บทบาทพยาบาลในการใช้เครื่องมือทางด้านดิจิทัล การสร้างฐานข้อมูลทางสุขภาพและสื่อแบบดิจิทัลในกลุ่มเป้าหมายที่คัดสรร
Concepts and theories of digital health informatics in adult and gerontological nursing, nurses’ roles and core competencies in application of information technology in healthcare services, trends and issues in applying and developing health informatics for adult and gerontological nursing, risks and benefits of digital media to health professionals and clients, nurses’ roles in digital tools application, development of digital media and database for selected population
3(2-3-6)
NU 227 405 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต 3(2-3-6)
Critical Care in Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
แนวคิดภาวะเจ็บป่วยวิกฤต หลักการพื้นฐานในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต บทบาทหน้าที่เฉพาะของพยาบาลวิกฤต การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยวิกฤตในระบบต่างๆ การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะวิกฤตของระบบต่างๆ การใช้กระบวนการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์
Concepts of critical care, principles of critical care nursing, specific critical care nurse’s roles, nursing care of adult and older adults with critical problems of body systems, evidenced-base critical care nursing; nursing practicum for adult and older adults with critical problems, nursing process, evidence-based nursing care plan
3(2-3-6)
NU 227 406 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะเรื้อรัง 3(2-3-6)
Chronic Care in Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
การพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรังในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย การเสริมสร้างพลังอำนาจ การจัดการตนเอง การจัดการอาการ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความไวเชิงวัฒนธรรม การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแล ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังในบริบทของผู้ใช้บริการโดยใช้กระบวนการพยาบาลและวางแผนการพยาบาลจากหลักฐานเชิงประจักษ์
Holistic nursing care for adult and older adult clients with common chronic health problems, empowerment, self-management, symptom management, health literacy, cultural sensitivity, evidence-based nursing care for chronic clients and caregivers; nursing practicum for adult and older adult clients with chronic illnesses in their respective context, nursing process, evidence-based nursing care plan
3(2-3-6)
NU 227 407 การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุบาดเจ็บ 3(2-3-6)
Trauma Care in Adult and Gerontological Nursing
เงื่อนไขของรายวิชา: ไม่มี
แนวคิดทฤษฎีการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บ ระบบคัดแยกความรุนแรง ระบบคะแนนความรุนแรงผู้ป่วยบาดเจ็บ การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินระยะก่อนถึงโรงพยาบาล การพยาบาลขณะนำส่งสถานพยาบาล การพยาบาลเพื่อจัดการระบบช่องทางด่วนศัลยกรรมอุบัติเหตุ ได้แก่ ผู้ป่วยสมองบาดเจ็บ ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอก/ช่องท้อง ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ ผู้ป่วยบาดเจ็บระยางค์ ปฏิบัติการพยาบาลดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บ การจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยบาดเจ็บ การพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยบาดเจ็บ
Concept of trauma nursing, triage system, scoring systems for trauma patients, pre-hospital care, inter-facility transfers; trauma fast track for traumatic brain injury, chest trauma, abdominal trauma, multiple trauma, extremity trauma. Nursing practicum for trauma clients, nursing outcomes management of trauma patients, development of injury surveillance database
3(2-3-6)
NU 227 899 วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต Thesisเงื่อนไขของรายวิชา : ต้องได้รับอนุญาตจากกรรมการหลักสูตรก่อน
กำหนดหัวข้อวิจัยทางการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พัฒนาโครงร่างการวิจัย สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ สร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การดำเนินการวิจัย จริยธรรมการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลและการอภิปรายผล การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์ การเผยแพร่ผลงานวิจัย
Identification of research topic in adult and gerontological nursing, proposal development, proposal examination, development and evaluation of research tools, research conduct, research ethics, data collection, data analyses, research results interpretation and discussion, thesis defense, dissemination of research results
12 หน่วยกิต

หมายเหตุ:       *   รายวิชาใหม่
                   **  วิชาเปลี่ยนแปลงใหม่

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:       พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science Program in Gerontological Nurse Practitioner     

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):      พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):       พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):  Master of Nursing Science (Gerontological Nurse Practitioner)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):   M.N.S. (Gerontological Nurse Practitioner)

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
36   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทยและภาษาอังกฤษบางหัวข้อในบางรายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยเป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (ปรับปรุง พ.ศ. 2560)
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 26/2564 .วันที่ 21 ธันวาคม 2564
สภาวิชาการ มหาวิทยาลัย เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 /2565วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565.
สภามหาวิทยาลัย  เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2565  วันที่ 2 มีนาคม 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    1. เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุและการพยาบาลผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชนทุกระดับ
    2. เป็นนักวิชาการในสถาบันการศึกษาพยาบาลและสถาบันการศึกษาอื่นที่เกี่ยวข้อง
    3. เป็นผู้ประกอบการสถานบริการด้านผู้สูงอายุ
    4. เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุและการพยาบาลผู้สูงอายุ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.ลดาวัลย์ พันธุ์พาณิชย์

อาจารย์ ดร.นัดดา คำนิยม

อาจารย์ ดร.สุทธินันท์ สุบินดี

ปรัชญา

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)     มหาบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรเป็นผู้ที่มีศักยภาพ สามารถพัฒนาเรียนรู้ด้วยตนเองไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลเฉพาะสาขาได้จากการผสมผสานองค์ความรู้และการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง สามารถประกอบอาชีพทางการพยาบาลได้             อย่างอิสระ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะความชำนาญด้านปฏิบัติการพยาบาลเวชปฎิบัติผู้สูงอายุอย่างเป็นองค์รวม สามารถให้การดูแลทุกภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วย รวมถึงระยะท้ายของชีวิต สามารถตรวจคัดกรอง ประเมิน ให้การวินิจฉัย การรักษาโรคเบื้องต้น ภาวะฉุกเฉิน กลุ่มอาการและปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ และสามารถตัดสินใจส่งต่อการรักษา ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและลดภาวะเสี่ยง การจัดการภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยในระยะต่างๆ ทั้งในสถานบริการสุขภาพและชุมชน               โดยอาศัยครอบครัวและชุมชนในการมีส่วนร่วมในการดูแล เป็นผู้จัดการด้านสุขภาพ มีภาวะผู้นำ และสามารถปฎิบัติงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้สูงอายุ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ มีความคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐานในการปฏิบัติการพยาบาล คำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและดูแลอย่างเอื้ออาทร สามารถทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้บริการพยาบาลอันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน เป็นแบบอย่างที่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจิตสาธารณะ ประพฤติตนตามกรอบคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณในการทำวิจัยและงานวิชาการบนมาตรฐานวิชาชีพ คำนึงถึงสิทธิผู้ใช้บริการและเป็นผู้นำทางจริยธรรม

วัตถุประสงค์

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)           มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

      1. สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจ แสดงออกถึงพฤติกรรมในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนตามกรอบของคุณธรรมจริยธรรม ทำวิจัยและงานวิชาการ ให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติ/การบริหารจัดการทางการพยาบาล ให้คําปรึกษาและชี้แนะทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ พิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงแสดงความกล้าหาญทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ
      2. มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ทางการพยาบาลและการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุที่ครอบคลุม การคัดกรอง ประเมิน วินิจฉัย ดูแลรักษาเบื้องต้น ภาวะฉุกเฉิน กลุ่มอาการและปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ และความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและลดภาวะเสี่ยง การจัดการภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ                ในผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยในระยะต่างๆรวมถึงระยะท้ายของชีวิต การดูแลผู้สูงอายุในยุคชีวิตวิถีใหม่ ทั้งในสถานบริการสุขภาพและชุมชน รวมทั้ง มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกระบวนการวิจัย สถิติ และการพัฒนานวัตกรรมด้านการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ
      3. สามารถคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ในการ           คัดกรอง ประเมิน วินิจฉัย ดูแลรักษาเบื้องต้น ภาวะฉุกเฉิน กลุ่มอาการและปัญหาสำคัญของผู้สูงอายุ และตัดสินใจส่งต่อการรักษาผู้สูงอายุที่มีปัญหาซับซ้อนหรือปัญหาที่คาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้น ประยุกต์ใช้หลักการด้านคุณภาพและความปลอดภัย สามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหา คิดริเริ่มทำวิจัย/โครงการในการแก้ไขและสร้างสรรค์รูปแบบ/นวัตกรรม/แนวปฏิบัติในการดูแลแบบองค์รวมอย่างเอื้ออาทร หรือการบริหารจัดการ เลือกใช้เครื่องมือและจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล เป็นพี่เลี้ยงหรือต้นแบบในการปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ รวมถึงมีคุณลักษณะ/ทักษะของการเป็นผู้จัดการด้านสุขภาพ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันและลดภาวะเสี่ยง การจัดการภาวะเจ็บป่วยและภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งการฟื้นฟูสภาพในผู้สูงอายุที่มีความเจ็บป่วยในระยะต่างๆรวมถึงระยะท้ายของชีวิต ทั้งในสถานบริการสุขภาพและชุมชน
      4. สามารถสร้างและรักษาสัมพันธภาพเชิงบำบัดโดยการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ครอบครัว สหสาขาวิชาชีพและชุมชน เป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ สามารถริเริ่มการเปลี่ยนแปลง ทํางานเป็นทีม มีความไวเชิงวัฒนธรรม มีวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งสู่ ความเป็นเลิศ มีความภาคภูมิใจ และสร้างคุณค่าในวิชาชีพ
      5. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศในการสืบค้น แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์ ประมวลผล และให้ข้อเสนอแนะ สามารถสื่อสารข้อมูล เผยแพร่ผลงาน และความรู้ใหม่ๆทางการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุทั้งภายในและนอกองค์กรอย่างมีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
        2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางการพยาบาลขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่าจากสถาบันที่สภาการพยาบาลให้การรับรอง  โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือร้อยละ 75

        3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิชาชีพ มาอย่างน้อย  1 ปี 
        4. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งจากสภาการพยาบาลที่ใบอนุญาตยังไม่หมดอายุ
        5. ในกรณีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ  (2) และ (3)  ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตร ทั้งนี้หากมีการรับนักศึกษาต่างชาติหรือผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้
                   (1) ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และ
                   
          (2) ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดย สภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร หรือ หากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาแตกต่างไปจากคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้น ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก236หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ21หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก 3หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 101ทฤษฏีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
2(2-0-4)
NU 127 102การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
2(2-0-4)
NU 427 101การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 1
Gerontological Nurse Practitioner I
3(3-0-6)
NU 427 201ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 1
Practicum for Gerontological Nurse Practitioner I
3(0-9-3)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน10
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม10
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 103วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistical Methods for Nursing Research
2(2-0-4)
NU 127 104ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health System and Nursing Leadership
3(3-0-6)
NU 427 102การพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 2
Gerontological Nurse Practitioner II
3(3-0-6)
NU 427 202ปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติผู้สูงอายุ 2
Practicum for Gerontological Nurse Practitioner II
3(0-9-3)
NU 427 899วิทยานิพนธ์
Thesis
1
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน12
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม22
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
XX XXX XXXวิชาเลือก
Elective Course
3
NU 427 899วิทยานิพนธ์
Thesis
6
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน9
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม31
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
XX XXX XXXวิชาเลือก (ถ้ามี)
Elective Course
NU 427 899วิทยานิพนธ์
Thesis
5
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน5
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม36

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:       หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science Program in Nursing Administration   

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):   พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):   พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):  Master of Nursing Science (Nursing Administration)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):   M.N.S. (Nursing Administration)

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
38   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางรายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ปรับปรุงจากหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล (ปรับปรุง พ.ศ. 2560)
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 26/2564 .วันที่ 21 ธันวาคม 2564
สภาวิชาการ อนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565
สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่  2/2565  เมื่อวันที่  2 กุมภาพันธ์ 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
          เป็นพยาบาลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการจัดการทางการพยาบาล และการบริหารการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพภาครัฐหรือเอกชน ทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ สถานประกอบการ และอื่นๆ) ผู้ประกอบการอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และด้านการดูแลสุขภาพในกลุ่มประชากรเป้าหมายเฉพาะ อาจารย์สอนด้านการพยาบาลและการบริหารการพยาบาลในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน นักวิชาการทางด้านสุขภาพและการจัดการทางการพยาบาล และนักวิจัย

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร

ผศ.ดร.ขนิษฐา วรธงชัย

ผศ.ดร.สมปรารถนา ดาผา

ปรัชญา

          คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการ ศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของสถาบันอุดมศึกษาและมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพที่เป็นสากล เน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางานและสังคม
         หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)    มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางด้านการบริหารทางการพยาบาล พัฒนาผู้นำทางการพยาบาลในนทุกระดับ ให้เป็นผู้ที่มีศักยภาพสูง  มีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีทักษะการบริหารจัดการสมัยใหม่ การบริหารจัดการวิถีใหม่ (New normal) การมีความคิดเชิงสร้างสรรค์ สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ และออกแบบระบบการบริการ ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดและขาดแคลน เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับการบริการที่มีคุณภาพ คุ้มค่า และการขับเคลื่อนองค์กรสุขภาพให้ก้าวสู่ความเป็นเลิศ

วัตถุประสงค์

        หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

      1. สามารถให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรมบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพในการปฏิบัติการพยาบาลและบริหารจัดการทางการพยาบาล แสดงออกถึงการเป็น
      2. สามารถอธิบายศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการบริหารการพยาบาล ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกระบวนการวิจัยและสถิติ และวิทยาการที่ทันสมัยในการบริหารจัดการทางการพยาบาล
      3. สามาถคิดวิเคราะห์ประเด็น แนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ระบบการให้บริการทางการพยาบาล และการเป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล และบูรณาการองค์ความรู้ โดยใช้ศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการบริหารพยาบาล ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลและจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลและ/หรือระบบสุขภาพที่เหมาะสม ในการพัฒนารูปแบบ/แนวปฏิบัติ/นวัตกรรม สร้างงานวิจัย/โครงการทางด้านการบริหารจัดการทางการพยาบาล ตลอดจนเป็นพี่เลี้ยงหรือต้นแบบในการปฏิบัติการ เพื่อนำไปปรับปรุงการบริหารจัดการ ตลอดจนการแก้ปัญหาทางการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม 
      4. แสดงออกซึ่งทักษะการเป็นผู้นำ สามารถริเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์  
      5. สามารถสร้างและรักษาสัมพันธภาพ ทำงานเป็นทีม โดยการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ ทีมสุขภาพ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสร้างเครือข่ายทางการพยาบาล และมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง องค์กร วิชาชีพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง   
      6. แสดงออกและยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล เสนอแนวทางใหม่ในการปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง ที่แสดงออกถึงการมีวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ มีความภาคภูมิใจและสร้างคุณค่าในวิชาชีพ   
      7. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตัล และสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้า  สามารถคัดกรองข้อมูลสารสนเทศ วิเคราะห์ ประมวลผล หาข้อสรุป เสนอแนะในการแก้ปัญหาและจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพและการพยาบาล ตลอดจนสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้ใช้บริการและสหสาขาวิชาชีพ   
      8. สามารถเผยแพร่ผลงานวิชาการและวิจัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งภายในและภายภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ  

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือร้อยละ 75
        2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลชั้นหนึ่ง ที่ยังไม่หมดอายุ
        3. กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ต้องสําเร็จการศึกษาหลักสูตร ปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล โดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมี ใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกํากับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร (เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ. 2560)
        4. ความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต เป็นไปตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 67/2559) เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
        5. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุง
        6. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2555 ข้อ 11.1
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก238หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ
1.1) วิชาแกน9หน่วยกิต
1.2) วิชาเฉพาะสาขา
1.2.1) วิชาเฉพาะสาขา (ทฤษฎี)6หน่วยกิต
1.2.2) วิชาเฉพาะสาขา (ปฏิบัติ)6หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก5หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 101ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
2 (2-0-4)
NU 127 102การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
2 (2-0-4)
NU 927 101การจัดการความเป็นเลิศทางการพยาบาล
Management of Nursing Excellence
2 (2-0-4)
NU 927 102การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพและทางการพยาบาล
Health and Nursing Resources Management
2 (2-0-4)
NU 927 201ปฏิบัติการจัดการความเป็นเลิศทางการพยาบาล
Practice Managing Excellence of Nursing
3 (0-9-0)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน11
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม11
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 103วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistical Methods for Nursing Research
2(2-0-4)
NU 127 104ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health system and Nursing leadership
3(3-0-6)
NU 927 103สัมมนาประเด็นคัดสรรและพัฒนานวัตกรรมการจัดการทางการพยาบาล
Seminar in Selected Issues and Development of Nursing Management Innovations
2(2-0-4)
NU 927 401การเป็นผู้ประกอบการทางการพยาบาล
Nursing Entrepreneurship
2(1-2-4)
XXX XXXวิชาเลือกทางคลินิก 3(2-3-6)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน12
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม23
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 927 202ปฏิบัติภาวะผู้นำในระบบบริการสุขภาพ
Practice leadership in the Health Service System
3(0-9-0)
NU 927 899วิทยานิพนธ์
Thesis
6
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน9
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 927 899วิทยานิพนธ์
Thesis
6
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน6
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม38

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:       หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science Program in Pediatric Nursing

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):   พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):    พย.ม. (การพยาบาลเด็ก)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):   Master of Nursing Science (Pediatric Nursing)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):    M.N.S. (Pediatric Nursing)

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
37   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางหัวข้อในบางรายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
ไม่มี

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหบัณฑิต (การพยาบาลเด็ก)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 26/2564   วันที่ 21 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564
สภาวิชาการ มหาวิทยาลัย เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 2 /2565วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565.
สภามหาวิทยาลัย  เห็นชอบหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 3/2565  วันที่ 2 มีนาคม 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
        ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีความสามารถด้านการพยาบาลเด็ก  ประกอบอาชีพในสถานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ  และตติยภูมิ  เป็นอาจารย์พยาบาล  นักการศึกษา  นักวิชาการ  ผู้บริหารการพยาบาล  นักวิจัย  ประกอบอาชีพอิสระในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลและผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

รศ.ดร.ชลิดา ธนัฐธีรกุล

ผศ.ดร.อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์

ผศ.ดร.จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี

ปรัชญา

        หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก เชื่อว่าพยาบาลที่เข้าศึกษาในหลักสูตรเป็นผู้มีศักยภาพที่แตกต่างกัน สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญการพยาบาลเฉพาะสาขาได้โดยผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้รับคำชี้แนะ/สนับสนุน พัฒนาศักยภาพจากผู้เชี่ยวชาญ (coaching) และการฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง
        มหาบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางการวิจัย วิชาการ และวิชาชีพ มีความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการพยาบาลเด็ก และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง จัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐาน สำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 18 ปี ทั้งในภาวะสุขภาพดี เสี่ยงต่อความเจ็บป่วย  มีภาวะเจ็บป่วยในระยะเฉียบพลัน ฉุกเฉิน วิกฤต เรื้อรังและระยะสุดท้ายของชีวิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะในการพยาบาลเด็ก  ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ดูแล  ฟื้นฟูสุขภาพ และการเป็นผู้จัดการสุขภาพ  โดยคำนึงถึงความเป็นบุคคลของเด็กอย่างเป็นองค์รวมภายใต้บริบทของครอบครัว และเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง  ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและ/หรือเทคโนโลยีสุขภาพทางการพยาบาลเด็ก

วัตถุประสงค์

     หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีการจัดการศึกษาหลายรูปแบบ และมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้

         เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ด้านวิชาการ  และทักษะการวิจัย  เพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีสมรรถนะดังต่อไปนี้

      1. สามารถแสดงพฤติกรรมวิเคราะห์และตัดสินใจบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพในการปฏิบัติการดูแลเด็ก มีจริยธรรมในการทำวิจัยและงานวิชาการ ตลอดจนให้คำปรึกษาและชี้แนะทางกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ รวมถึงพิทักษ์สิทธิเพื่อประโยชน์ของเด็ก
                  1. สามารถแสดงพฤติกรรมวิเคราะห์และตัดสินใจบนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพในการดูแลเด็ก
                  2. สามารถแสดงพฤติกรรมในการส่งเสริมให้มีการประพฤติ  ปฏิบัติตนตามกรอบคุณธรรมและจริยธรรมของบัณฑิต  ได้แก่ การมีวินัย ไม่คัดลอกงานของผู้อื่น รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  มีจิตสาธารณะ

                  3. มีจริยธรรมในการทำวิจัยและงานวิชาการ
                  4. สามารถให้เหตุผลและตัดสินเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล/การบริหารจัดการทางการพยาบาลเด็ก
                  5. ให้คําปรึกษาและชี้แนะทางกฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ รวมถึงพิทักษ์สิทธิเพื่อประโยชน์ของเด็ก
      2. สามารถอธิบายองค์ความรู้ จากศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และวิทยาการที่ทันสมัย ตลอดจนกระบวนการวิจัยและการใช้สถิติได้อย่างถูกต้อง
                  1. สามารถอธิบายศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และวิทยาการที่ทันสมัยในการพยาบาลเด็ก
                  2. สามารถอธิบายกระบวนการวิจัยและการใช้สถิติได้อย่างถูกต้อง
      3. สามารถสร้างผลงานวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรม และเป็นต้นแบบด้านการพยาบาลเด็ก เพื่อขยายความรู้และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็กโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                  1. สามารถแสดงพฤติกรรมการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้ศาสตร์หรือทฤษฎีทางการพยาบาลและศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น หลักฐานเชิงประจักษ์ ประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก
                  2. สามารถบูรณาการความรู้จากทฤษฎีทางการพยาบาล ศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก
                  3. สามารถพัฒนางานวิจัยหรือโครงการ เพื่อขยายความรู้และพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเด็ก
                  4. แสดงความคิดริเริ่มในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์รูปแบบ/นวัตกรรม/แนวปฏิบัติในการดูแลเด็ก
                  5. สามารถแสดงพฤติกรรมวิเคราะห์ประเด็นและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก
                  6. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลและจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาลเด็ก
                  7. เป็นพี่เลี้ยง หรือ ต้นแบบในการปฏิบัติการพยาบาลเด็ก
      4. สามารถแสดงออกถึงภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีมและริเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ และมีความไวทางวัฒนธรรม
                  1. แสดงความสามารถในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพเชิงบำบัดโดยการมีส่วนร่วมของเด็ก ครอบครัวและชุมชนเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่คาดหวัง
                  2. แสดงความรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งวิชาชีพและสังคมได้อย่างต่อเนื่อง

                  3. แสดงออกถึงทักษะการเป็นผู้นำ ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์
                  4. สามารถทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                  5. แสดงออกถึงการมีความไวเชิงวัฒนธรรม
                  6. แสดงออกถึงการมีวัฒนธรรมในการทำงานที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ
                  7. แสดงออกถึงการมีความภาคภูมิใจ และสร้างคุณค่าในวิชาชีพ

      5. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตัลและสารสนเทศในการสืบค้นและพัฒนางานด้านการพยาบาลเด็กและเผยแพร่ผลงานอย่างมีมาตรฐาน
                  1. แสดงความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิตัล และสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้า/ แสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
                  2. สามารถคัดกรองข้อมูลสารสนเทศทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ วิเคราะห์ ประมวลผล หาข้อสรุป และเสนอแนะการแก้ไขปัญหา และจัดการความเสี่ยง ด้านสุขภาพและการพยาบาลเด็ก
                  3. สามารถสื่อสารข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเด็กและสหสาขาวิชาชีพ

                  4. สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ เผยแพร่ผลงานและความรู้ใหม่ๆทั้งภายในและนอกองค์กรและในระดับประเทศอย่างมีมาตรฐาน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. ให้เป็นไปตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
        2. มีประสบการณ์ทำงานพยาบาลวิชาชีพ อย่างน้อย 1 ปี
        3. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50
        4. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลชั้นหนึ่ง ที่ยังไม่หมดอายุ ในกรณีที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศที่ไม่มีระบบการให้ใบอนุญาต  ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพพยาบาล
        5. กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทย ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือหนังสือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร

      หากคุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก237หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ
- วิชาแกน9หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะสาขา13หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก 3หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 101ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
2(2-0-4)
NU 127 102การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
2(2-0-4)
NU 337 101 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง และวิทยาศาสตร์สุขภาพสำหรับการพยาบาลเด็ก
Advance Health Assessment and Health Science for Pediatric Nursing
3(3-0-6)
NU 337 102 การพยาบาลเด็กในภาวะสุขภาพปกติและเจ็บป่วย
Pediatric Nursing in Wellness and Illness
2(2-0-4)
NU 337 201 ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 1 Advanced Pediatric Nursing Practicum I3(0-9-4)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียน12
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม12
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 103วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistics Method for Nursing Research
2(2-0-4)
NU 127 104ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health System and Nursing Leadership
3(3-0-4)
NU 337 103 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการพยาบาลเด็ก
Innovation and Health Technology in Pediatric Nursing
2(2-0-4)
NU 337 202ปฏิบัติการพยาบาลเด็กขั้นสูง 2
Advanced Pediatric Nursing Practicum II
3(0-9-4)
NU 337 899 วิทยานิพนธ์
Thesis
3
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียน13
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม25
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU XXX XXX วิชาเลือก3
NU 337 899วิทยานิพนธ์
Thesis
6
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียน9
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม34
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 337 899 วิทยานิพนธ์
Thesis
3
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียน3
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม37

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:    หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):   พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):   พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):  Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):   M.N.S. (Community Nurse Practitioner)

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
39   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางหัวข้อ/รายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 โดยปรับปรุงจาก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล  เวชปฏิบัติชุมชน (ปรับปรุง พ.ศ.2560) และหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว (ปรับปรุง พ.ศ.2560)
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2565
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 
สภาวิชาการ เห็นชอบในการประชุมครั้งที่  3 /2565   .วันที่  28 มีนาคม  2565
สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่  4/25652  วันที่   8 เมษายน 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

      1. เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับของภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิ

      2. เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน และการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป

      3. ผู้บริหารการพยาบาลหรือผู้จัดการระบบสุขภาพชุมชน
      4. ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชนและการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
      5. ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ และ/หรืออบรมวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาเอกทางด้านการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลชุมชน หรือเก็บประสบการณ์เพื่อเข้าสอบวุฒิบัตรพยาบาลขั้นสูง และขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
      6. ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านสุขภาพ

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล

ผศ.ดร.กิตติภูมิ ภิญโย

ผศ.ดร.นิศาชล บุบผา

ปรัชญา

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) มุ่งผลิตบัณฑิตทางการพยาบาลให้เป็น “ผู้จัดการระบบสุขภาพชุมชน” ที่เป็นผู้นำทางวิชาการ วิชาชีพ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมและการจัดการได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ มีความรู้อย่างลึกซึ้งและสามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศและการวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติงานพยาบาล สามารถทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้บริการสุขภาพระดับครอบครัวและชุมชน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของครอบครัวและชุมชน และพัฒนานวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวและชุมชน สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องในงานการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ   รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  มีจิตสาธารณะ ประพฤติตนตามกรอบคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตราฐานวิชาชีพในการทำวิจัยและงานวิชาการ

วัตถุประสงค์

          หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)          มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะ ดังนี้

          1. สามารถอธิบายและอภิปรายความรู้ในศาสตร์ด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน การพยาบาล เวชปฏิบัติทั่วไปและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างลึกซึ้ง
          2. สามารถปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนขั้นสูงในระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          3. แสดงออกถึงการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ อุทิศตนเพื่อสังคมและภาคภูมิใจในวิชาชีพการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

        1. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
          และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่
        2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางการพยาบาลขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับ
          ปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 5  หรือร้อยละ 75
        3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิชาชีพมาอย่างน้อย 1 ปี
        4. เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ไม่หมดอายุ
        5. ในกรณีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ (2) และ (3) ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
        6. กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
          พ.ศ.2560
            • ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก239หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ
1.1) วิชาแกน9หน่วยกิต
1.2) วิชาเฉพาะสาขา15หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก3หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 101ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
2 (2-0-4)
NU 127 102การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
2 (2-0-4)
NU 627 111วิทยาการระบาดและประชากรศาสตร์สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ
Epidemiology and Demography for Nurse Practitioner
2 (2-0-4)
NU 627 112**การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
Family and Community Nursing
3 (3-0-6)
NU 627 211**ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
Family and Community Nursing Practicum
3 (0-9-6)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน12
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม12
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 127 103วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistics Method for Nursing Research
2 (2-0-4)
NU 127 104ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล
Health System and Nursing Leadership
3 (3-0-6)
NU 627 114การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล เวชปฏิบัติ
Advanced Health Assessment and Primary Medical Care for Nurse Practitioner
3 (3-0-6)
NU 627 212ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการดูแลภาวะฉุกเฉินสำหรับพยาบาล เวชปฏิบัติ
Primary Medical Care and Emergency Care Practice for Nurse Practitioner
3(0-9-6)
NU 627 899วิทยานิพนธ์
Thesis
2 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน13
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม25
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 627 113**การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลครอบครัวและชุมชน
Development of Family and Community Nursing Innovation
1 (1-0-2)
NU 627 899วิทยานิพนธ์
Thesis
7 หน่วยกิต
NU xxx xxxวิชาเลือก
Elective course
3 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน11
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม36
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU 627 899วิทยานิพนธ์
Thesis
3 หน่วยกิต
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน3
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม39

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย:       หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการผดุงครรภ์
ภาษาอังกฤษ:   Master of Nursing Science Program in Midwifery

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย):   พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การผดุงครรภ์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย):    พย.ม. (การผดุงครรภ์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ):   Master  of Nursing Science (Midwifery)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ):    M.N.S. (Midwifery)

วิชาเอก
ไม่มี

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
36   หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร

1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน ก แบบ ก 2

2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในบางรายวิชา

3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหบัณฑิต (การผดุงครรภ์)

สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร

      1. เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕ 
      2. เริ่มใช้ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

      3. คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตร เห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕
      4. สภาวิชาการ เห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 .วันที่…24 เมษายน 2565
      5. สภามหาวิทยาลัย เห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 5/2565….วันที่……6 พฤษภาคม 2565

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

      1. ผู้ปฏิบัติการผดุงครรภ์ในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ)
      2. ผู้ประกอบการคลินิกผดุงครรภ์
      3. ประกอบอาชีพอิสระด้านการผดุงครรภ์
      4. นักวิชาการด้านการผดุงครรภ์ นักวิจัยทางการผดุงครรภ์ นักการศึกษาหรือเป็นผู้บริหารการพยาบาล

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผศ.ดร.นิลุบล รุจิรประเสริฐ

Asst.Prof.Dr.Nilubon Rujiraprasert

ผศ.ดร.สมจิตร เมืองพิล

Asst.Prof.Dr.Somjit Muangpin

ผศ.ดร.นิตยา พันธ์งาม

Asst.Prof.Dr.Nittaya Panngam

ปรัชญา

        มหาบัณฑิตพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรจะเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางการวิจัย วิชาการ และวิชาชีพ มีความรู้อย่างลึกซึ้งในศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ทางการผดุงครรภ์  และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มีคุณลักษณะของผู้จัดการสุขภาพ  เป็นผู้นำทางการพยาบาลและผดุงครรภ์อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์ สามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาล/การผดุงครรภ์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถทำวิจัย ใช้เทคโนโลยีดจิทัลสารสนเทศอย่างเหมาะสม มีทักษะในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อ พัฒนาคุณภาพการดูแล พัฒนานวัตกรรม  หรือจัดบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน สำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ในระยะต่างๆ ทารกแรกเกิด และครอบครัว ทั้งในภาวะปกติ ภาวะเสี่ยงสูง ภาวะวิกฤติ และภาวะฉุกเฉิน โดยคำนึงถึงแตกต่างด้านเพศภาวะ เคารพในความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม  มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีในระยะต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและประเทศ 

วัตถุประสงค์

        หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕)                     มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

          1. มีทักษะในการเป็นผู้จัดการด้านสุขภาพในการปฏิบัติการผดุงครรภ์ การจัดระบบบริการทางการผดุงครรภ์สำหรับสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะสุขภาพปกติ มีความเสี่ยงสูง เรื้อรัง ซับซ้อน ภายใต้กฎหมาย จรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ 
          2. สร้างงานวิจัย นวัตกรรม พัฒนาคุณภาพงานบริการด้านการผดุงครรภ์ โดยคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย จรรยาบรรณวิชาชีพและมาตรฐานวิชาชีพ และคำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศภาวะ เคารพในความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม  มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรีในระยะต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นและประเทศ 
          3. มีทักษะในการเป็นผู้นำทางการพยาบาล/การผดุงครรภ์ และทำงานเป็นทีม หรือทำงานร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างด้านเพศภาวะ เคารพในความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม
          4. สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สารสนเทศอย่างถูกต้องและปลอดภัย ในการสื่อสาร สร้างงานวิชาการ งานวิจัย พัฒนานวัตกรรม และคุณภาพบริการด้านการผดุงครรภ์ 
          5. สามารถเผยแพร่ผลงานวิชาการ งานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลทั้งภายในและนอกองค์กร ได้ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ
          6. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ในการพัฒนาวิชาการ งานวิจัย  และการปฏิบัติการผดุงครรภ์  

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

      1. ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัpขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่

      2. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาการพยาบาล หรือเทียบเท่าจากสถาบันที่ สภาการพยาบาลให้การรับรอง  และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาให้การรับรองโดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า  ๒.๕๐ หรือร้อยละ ๗๕
      3. มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการผดุงครรภ์หรือแผนกสูติกรรม อย่างน้อย ๑  ปี
      4. เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority)  ในประเทศของผู้สมัคร
      5. สอบผ่านการวัดมาตรฐานความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฉบับที่ ๖๗/๒๕๕๙ หรือตามระเบียบที่ปรับปรุงใหม่ 
      6. ในกรณีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ (๒) และ (๓)  ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารการศึกษาประจำคณะ หรือคณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก236หน่วยกิต
1) หมวดวิชาบังคับ21หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก3หน่วยกิต
3) วิชาวิทยานิพนธ์12หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU ๑๒๗ ๑๐๑ ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล
Theories and Concepts in Nursing
๒(๒-๐-๔)
**NU ๑๒๗ ๑๐๒ การวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการ พยาบาล
Research and Research Utilization in Nursing
๒(๒-๐-๔)
**NU ๘๒๗ ๑๐๑ การประเมินภาวะสุขภาพ วิทยาศาสตร์สุขภาพและเภสัชวิทยาสำหรับการผดุงครรภ์
Health Assessment, Health Science and Pharmacology for Midwife
๓(๓-๐-๖)
*NU ๘๒๗ ๑๐๒ หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการผดุงครรภ์
Evidence Based Midwifery Practice
๑(๐-๒-๑)
**NU ๘๒๗ ๑๐๓ การผดุงครรภ์
Midwifery
๒(๒-๐-๔)
**NU ๘๒๗ ๒๐๑ ปฏิบัติการผดุงครรภ์
Midwifery Practice
๒(๐-๖-๔)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน๑๒
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม๑๒
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
**NU ๑๒๗ ๑๐๓วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล
Statistics for Nursing Research
๒(๒-๐-๔)
**NU ๑๒๗ ๑๐๔ ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing Leadership๓(๓-๐-๖)
**NU ๘๒๗ ๒๐๒ ปฏิบัติการผดุงครรภ์ในประเด็นคัดสรรทางสุขภาพ Midwifery Practice in Selected Health Issues๔ (๐-๑๒-๘)
NU xxx xxxวิชาเลือก (Elective Courses)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน๑๒
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม๒๔
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU ๘๒๗ ๘๙๙วิทยานิพนธ์ Thesis
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม๓๓
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2)หน่วยกิต
NU ๘๒๗ ๘๙๙วิทยานิพนธ์ Thesis
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม๓๖

ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561 
www.facebook.com/ESNUKKU

Scroll to Top