หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner
ชื่อปริญญา และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): พย.ม. (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Master of Nursing Science in Community Nurse Practitioner
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): M.N.S. (Community Nurse Practitioner)
วิชาเอก
ไม่มี
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
39 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
1 รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2
2 ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย และภาษาอังกฤษบางหัวข้อ/รายวิชา
3 การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว คือ พยาบาลศาสตรมหบัณฑิต (สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน)
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 โดยปรับปรุงจาก หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล เวชปฏิบัติชุมชน (ปรับปรุง พ.ศ.2560) และหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว (ปรับปรุง พ.ศ.2560)
คณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัย เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2565
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565
สภาวิชาการ เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3 /2565 .วันที่ 28 มีนาคม 2565
สภามหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 4/25652 วันที่ 8 เมษายน 2565
เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
เป็นผู้ปฏิบัติการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับของภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะในระดับปฐมภูมิ
เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน และการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป
- ผู้บริหารการพยาบาลหรือผู้จัดการระบบสุขภาพชุมชน
- ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชนและการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
- ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ และ/หรืออบรมวุฒิบัตรเทียบเท่าปริญญาเอกทางด้านการพยาบาลขั้นสูงสาขาการพยาบาลชุมชน หรือเก็บประสบการณ์เพื่อเข้าสอบวุฒิบัตรพยาบาลขั้นสูง และขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านสุขภาพ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผศ.ดร.นิศาชล บุบผา
Asst.Prof.Dr.Nisachon Bubpa
ผศ.ดร.กิตติภูมิ ภิญโย
Asst.Prof.Dr.Kittiphoom Phinyo
อาจารย์ ดร.จารุณี สรกฤช
Dr.Charunee Sarakrit
ปรัชญา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565) มุ่งผลิตบัณฑิตทางการพยาบาลให้เป็น “ผู้จัดการระบบสุขภาพชุมชน” ที่เป็นผู้นำทางวิชาการ วิชาชีพ การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมและการจัดการได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และบริบทต่างๆ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ มีความคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ มีความรู้อย่างลึกซึ้งและสามารถบูรณาการศาสตร์ด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาสมรรถนะด้านการปฏิบัติการดูแลสุขภาพครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีคุณภาพ โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศและการวิจัยเป็นฐานในการปฏิบัติงานพยาบาล สามารถทำวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนสำหรับผู้ใช้บริการสุขภาพระดับครอบครัวและชุมชน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพของครอบครัวและชุมชน และพัฒนานวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ มุ่งสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวและชุมชน สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับบุคลากรทางสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้องในงานการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดี มีวินัย ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีจิตสาธารณะ ประพฤติตนตามกรอบคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมาตราฐานวิชาชีพในการทำวิจัยและงานวิชาการ
วัตถุประสงค์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีสมรรถนะ ดังนี้
- สามารถอธิบายและอภิปรายความรู้ในศาสตร์ด้านการพยาบาลครอบครัวและชุมชน การพยาบาล เวชปฏิบัติทั่วไปและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างลึกซึ้ง
- สามารถปฏิบัติการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนขั้นสูงในระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แสดงออกถึงการเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ อุทิศตนเพื่อสังคมและภาคภูมิใจในวิชาชีพการพยาบาล
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
และให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วยการศึกษาบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่ - เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทางการพยาบาลขั้นปริญญาตรี หรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับ
ปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 5 หรือร้อยละ 75 - มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลวิชาชีพมาอย่างน้อย 1 ปี
- เป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ที่ไม่หมดอายุ
- ในกรณีคุณสมบัติไม่ครบตามข้อ (2) และ (3) ให้อยู่ในดุลยพินิจของกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
- กรณีผู้เข้าศึกษาไม่มีสัญชาติไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์
พ.ศ.2560- ต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร
- ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วย เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร แผน ก แบบ ก2 | 39 | หน่วยกิต |
---|---|---|
1) หมวดวิชาบังคับ | ||
1.1) วิชาแกน | 9 | หน่วยกิต |
1.2) วิชาเฉพาะสาขา | 15 | หน่วยกิต |
2) หมวดวิชาเลือก | 3 | หน่วยกิต |
3) วิชาวิทยานิพนธ์ | 12 | หน่วยกิต |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2) | หน่วยกิต | |
---|---|---|
NU 127 101 | ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล Theories and Concepts in Nursing | 2 (2-0-4) |
NU 127 102 | การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล Research and Research Utilization in Nursing | 2 (2-0-4) |
NU 627 111 | วิทยาการระบาดและประชากรศาสตร์สำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ Epidemiology and Demography for Nurse Practitioner | 2 (2-0-4) |
NU 627 112** | การพยาบาลครอบครัวและชุมชน Family and Community Nursing | 3 (3-0-6) |
NU 627 211** | ปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน Family and Community Nursing Practicum | 3 (0-9-6) |
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน | 12 | |
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม | 12 |
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 (แผน ก แบบ ก 2) | หน่วยกิต | |
---|---|---|
NU 127 103 | วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล Statistics Method for Nursing Research | 2 (2-0-4) |
NU 127 104 | ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล Health System and Nursing Leadership | 3 (3-0-6) |
NU 627 114 | การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล เวชปฏิบัติ Advanced Health Assessment and Primary Medical Care for Nurse Practitioner | 3 (3-0-6) |
NU 627 212 | ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการดูแลภาวะฉุกเฉินสำหรับพยาบาล เวชปฏิบัติ Primary Medical Care and Emergency Care Practice for Nurse Practitioner | 3(0-9-6) |
NU 627 899 | วิทยานิพนธ์ Thesis | 2 หน่วยกิต |
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน | 13 | |
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม | 25 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2) | หน่วยกิต | |
---|---|---|
NU 627 113** | การพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลครอบครัวและชุมชน Development of Family and Community Nursing Innovation | 1 (1-0-2) |
NU 627 899 | วิทยานิพนธ์ Thesis | 7 หน่วยกิต |
NU xxx xxx | วิชาเลือก Elective course | 3 หน่วยกิต |
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน | 11 | |
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม | 36 |
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 (แผน ก แบบ ก 2) | หน่วยกิต | |
---|---|---|
NU 627 899 | วิทยานิพนธ์ Thesis | 3 หน่วยกิต |
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน | 3 | |
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม | 39 |
ติดต่อสอบถาม
หน่วยจัดการศึกษาปริญญาตรี งานบริการการศึกษาฯ
โทร.043-202-149 ต่อ 116
หรือ โทร.084-602-1448 ,043-202 561
www.facebook.com/ESNUKKU