NewsEvents

ข่าวสารและกิจกรรม

news, NewsEvents

คณะพยาบาลศาสตร์ มข. จัดกิจกรรม “โฮม เฮือน ฮักสร้างสรรค์ : ค่ายสานสัมพันธ์ เตรียมความพร้อม ดอกปีบช่อใหม่ เข้าสู่บ้านสีฟ้ารั้วสีอิฐ”

คณะพยาบาลศาสตร์ มข. จัดกิจกรรม “โฮม เฮือน ฮักสร้างสรรค์ : ค่ายสานสัมพันธ์ เตรียมความพร้อม ดอกปีบช่อใหม่ เข้าสู่บ้านสีฟ้ารั้วสีอิฐ”           ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คณะพยาบาลศาสตร์ ผนึกกำลังสโมสรนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และสโมสรนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จัดกิจกรรม “โฮม เฮือน ฮักสร้างสรรค์ : ค่ายสานสัมพันธ์ เตรียมความพร้อม ดอกปีบช่อใหม่ เข้าสู่บ้านสีฟ้ารั้วสีอิฐ” นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 54 ปีการศึกษา 2567 ระหว่างวันที่ 22 – 23 มิถุนายน 2567 ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมนักศึกษาใหม่ในระยะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การจัดการเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งด้านการเรียน การปรับตัว การใช้ชีวิต การส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักศึกษาใหม่ นักศึกษารุ่นพี่ คณาจารย์ จึงจัดกิจกรรมโฮม เฮือน ฮักสร้างสรรค์ฯ ขึ้น ซึ่งรูปแบบกิจกรรมเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์และการฝึกปฏิบัติจริง โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.สมรภพ บรรหารักษ์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรมและการต่างประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรุณณี ใจเที่ยง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ และคณาจารย์ อาจารย์ประจำชั้นปีที่ 1 คณะกรรมการฝ่ายพัฒนานักศึกษาฯ เจ้าหน้าที่ สโมสรนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มนักศึกษาประจำบ้านเข้าเรียนรู้ใน 5 สถานี ดังนี้ สถานีที่ 1 รวมมิตรสะกิดใจ เคล็ดลับการเรียนพยาบาล สถานีที่ 2 สารพัดวิธีเอาตัวรอดใน มข. สถานีที่ 3 มข. More Care ดูแลจิตใจยังไงให้ไม่เฉา สถานีที่ 4 คุณคือนักร้องเสียง และสถานีที่ 5 Emergency First Aid and CPR กิจกรรม NU Grand ประกวดการนำเสนอผลการวิเคราะห์โจทย์ที่ได้รับของบ้านแต่ละหลัง เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ พร้อมสู่การเรียนรู้ในวิชาชีพการพยาบาล           นอกจากนี้ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “พัฒนาบุคลิกภาพเพื่อก้าวสู่สังคมอย่างมืออาชีพ” โดย อาจารย์ รัชนีกร จันทหาร อาจารย์ประจำหลักสูตรการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และพิธีมอบสัญลักษณ์ประจำคณะฯ กิจกรรม “The Master Piece NU” และพิธีเทียน เพื่อเป็นการต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่รั้วของคณะพยาบาลศาตร์ด้วยความอบอุ่น และประทับใจเป็นอย่างยิ่ง

news, NewsEvents, การอบรมระยะสั้น

พิธีปิดการอบรม โครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต รุ่นที่ 15 คณะพยาบาลศาสตร์ มข.

พิธีปิดการอบรม โครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต รุ่นที่ 15 คณะพยาบาลศาสตร์ มข. พิธีปิดการอบรม โครงการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต รุ่นที่ 15 คณะพยาบาลศาสตร์ มข.          วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 9.00 น. รศ.ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผศ.ดร.สมจิตร เมืองพิล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา และบริการวิชาการ อ.ดร.อรุณณี ใจเที่ยง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และศิษย์เก่าสัมพันธ์ พว.เบญจมาศ จันทร์นวล หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พว. รุ้งลาวรรณ ศุภิรัตนกุล ในนามผู้แทนหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ผู้บริหารทางการพยาบาลทารกและเด็กวิกฤต อาจารย์คลินิก คณะกรรมการจัดอบรม รวมทั้ง แขกผู้มีเกียรติ และผู้เข้ารับการอบรมและญาติ ร่วมแสดงความชื่นชมยินดี กับผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต รุ่นที่ 15 ที่ได้รับรองโดยสภาการพยาบาล จำนวน 48 ท่าน          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฬาภรณ์ ตั้งภักดี ประธานคณะกรรมการหลักสูตรอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต รุ่นที่ 15 ร่วมกับคณะกรรมการ จากสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานต่อประธานพิธี ด้วยปัญหาสุขภาพที่รุนแรงซับซ้อนของผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตได้อย่างปลอดภัย พยาบาลต้องบูรณาการความรู้ เพื่อปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางด้านการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์เป็นฐานในการแก้ไขปัญหาสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ ที่มุ่งให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานแห่งวิชาชีพ ตลอดจนสภาการพยาบาลที่ต้องการ ยกระดับพยาบาลวิชาชีพให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อดูแลทากรและเด็ก สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก คณะพยาบาลสาสตร์ จึงได้อนุมัติหลักสูตรอบรมการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต โดยในปีนี้ได้เปิดการอบรมในรุ่น ที่ 15 ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ 4 มีนาคม ถึง 17 มิถุนายน 2567 ได้สำเร็จลุล่วง          โดยผู้ผ่านการฝึกอบรมได้ผ่านการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 10 หน่วยกิต คิดเป็น 158 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 5 หน่วยกิต คิดเป็น 320 ชั่วโมง โดยได้มีการปรับเพิ่มสาระความรู้ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องด้านการพยาบาลทารกและเด็กวิฤตให้สอดคล้องปัญหาที่พบในสภาวะปัจจุบันที่สังคมไทยมีอัตราการเกิดน้อย ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นมีทั้งจากโรคและการเจ็บป่วย โรคจากพันธุกรรม ในประเด็น precision Medicine in Neonatal and Pediatric Critical Illness ปัญหาจากภาวะฉุกเฉินวิกฤตในผู้ป่วยทารกและเด็ก รวมทั้งได้เชิญนักดนตรีบำบัดจากประเทศออสเตรเลียมาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน Clinical Teaching ในหัวข้อ Music therapy for critical ill children ช่วยให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การนำศิลปะด้านดนตรีบำบัดเพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสามารถออกแบบการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตได้อย่างเป็นองค์รวม          ในการนี้มีผู้สำเร็จการฝึกอบรมมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสูงสุด 4.00 ประกอบด้วย พว.ภัสรา พระเทศ โรงพยาบาลบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ พว.สุกัลยา มาลีหวล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น          ในโอกาสนี้ผู้ผ่านการฝึกอบรมได้ส่งมอบโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบเงินทุนสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ เป็นมูลค่า 11,000 บาท โดยมี รศ.ดร.อัมพรพรรณ ธีรานุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ ผศ.ดร.สมจิตร เมืองพิล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา และบริการวิชาการ อ.ดร.อรุณณี ใจเที่ยง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา และศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นผู้รับมอบ ณ ห้องศรีกาลพฤกษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

news, STDnews

คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย จัด “ค่ายจิตอาสานักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมสุขภาวะ” ระหว่างวันที่ 1-4 มิถุนายน 2567

คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย จัด “ค่ายจิตอาสานักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมสุขภาวะ” ระหว่างวันที่ 1-4 มิถุนายน 2567 ณ บ้านวังนอง ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร           วันที่ 1-4 มิถุนายน 2567 คณะพยาบาลศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย จัด “ค่ายจิตอาสานักศึกษาพยาบาลเพื่อสังคมสุขภาวะ” ณ บ้านวังนอง ตำบลโนนยาง อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 200 คน ได้แก่ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์และคณะอื่นๆในมหาวิทยาลัยขอนแก่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนยางและทีมผู้บริหาร ผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านวังนอง ผู้อำนวยการและพยาบาลวิชาชีพจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคำพอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านงิ้ว ผู้ใหญ่บ้านวังนองและคณะกรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโนนยาง แกนนำเด็กและเยาวชน นักเรียนโรงเรียนบ้านวังนอง ซึ่งได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. อัมพรพรรณ ธีรานุตร คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด คุณชยานนท์ ทรัพยากร พร้อมด้วยผู้แทนจากมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรุณณี ใจเที่ยง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ คุณอภิชญา สมหาญ หัวหน้างานบริการการศึกษาและพัฒนานักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรร่วมพิธีเปิดด้วย           วัตถุประสงค์ของการจัดค่ายจิตอาสาฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำเด็กและเยาวชน นักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียน และประชาชนให้มีความรู้ เข้าใจด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การลด ละเลิกบุหรี่ สุรา และสารเสพติด มีทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปรับภูมิทัศน์ในโรงเรียนและในชุมชน ตลอดจนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในการตระหนักรู้ทางสังคม จิตอาสา ความเป็นผู้นำและการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพ          กิจกรรมในค่ายฯ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2. การพัฒนาทักษะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำเด็กและเยาวชน ประชาชนในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยฟื้นคืนชีพ 3. การพัฒนาศักยภาพแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อป้องกัน ลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา สารเสพติด 4. การส่งเสริมสุขภาพนักเรียนระดับประถมศึกษาในการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การอ่านฉลากโภชนาการ การดูแลตัวเองเพื่อเข้าสู่วัยรุ่น และทักษะการปฏิเสธ 5. การปรับภูมิทัศน์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียนและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพในสถานีสุขภาพชุมชน 6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมภูไทและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านวังนอง เช่น จักสาน ทอผ้า บายศรีสู่ขวัญ การตักบาตรเช้าบริเวณถนนสายวัฒนธรรม โดยกิจกรรมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ในขณะเดียวกันนักศึกษาได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ทางวิชาชีพ สามารถประยุกต์ความรู้จากรั้วมหาวิทยาลัยสู่การปฏิบัติจริง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนชุมชนไปสู่สังคมสุขภาวะต่อไป

Scroll to Top