สาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่)
ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Critical Care Nursing (Adult)
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต (ผู้ใหญ่)
ภาษาอังกฤษ : Certificate in Critical Care Nursing Specialty (Adult)
ระยะเวลาการอบรม : 16 สัปดาห์
ค่าลงทะเบียน : คนละ 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
จำนวนรับผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 64 คน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่ไม่หมดอายุ
- เป็นผู้มีประสบการณ์ในการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤตไม่น้อยกว่า 1 ปี
- มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ ไม่เป็นโรคอันจะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาอบรม
- ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
สถานที่แหล่งฝึกปฏิบัติ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- หออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต อายุรกรรมศัลยกรรม
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- หอผู้ป่วยระยะวิกฤต ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น
ได้หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ 50 หน่วยคะแนน
วัตถุประสงค์ทั่วไป :
ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ระบบหลักประกันสุขภาพ ระบบการพยาบาลและบทบาทพยาบาล เศรษฐศาสตร์สุขภาพ การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ การวัดผลลัพธ์ระบบสุขภาพและตัวชี้วัดทางสุขภาพการจัดการข้อมูลทางสุขภาพและการจัดทำฐานข้อมูลอย่างง่าย ตลอดจนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต ได้แก่ ความเครียดและการปรับตัว การเสริมสร้างพลังอำนาย การให้คำปรึกษา การจัดการายกรณี การพิทักษ์สิทธิ์ และจริยธรรมการพยาบาล และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต
วัตถุประสงค์เฉพาะ : เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ
- วิเคราะห์/และเชื่อมโยงแนวคิดระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ และระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศได้
- อธิบายระบบการพยาบาลและบทบาทพยาบาลในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิได้ถูกต้อง
- อภิปรายแนวคิดและประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
- อธิบายขั้นตอนและพัฒนาการปฏิบัติการ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ได้ถูกต้อง
- วิเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์และสรุปข้อความรู้ในการนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตได้ถูกต้อง
- อธิบายการวัดผลลัพธ์ระบบสุขภาพและตัวชี้วัดทางสุขภาพในผู้ป่วยระยะวิกฤตได้ถูกต้อง
- อภิบายการจัดการข้อมูลทางสุขภาพของผู้ป่วยเฉพาะโรค และการจัดทำฐานข้อมูลอย่างง่ายได้ถูกต้อง
- อธิบายการนำแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตไปใช้ในผู้ป่วยระยะวิกฤตได้ถูกต้องและเหมาะสม
ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมในหลักสูตรต้องมีความรู้เกี่ยวกับนโยบายสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤตและมีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤตได้ เพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลผู้ป่วยที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่ซับซ้อน มีทักษะในการประเมินและวางแผนการพยาบาล เพื่อตอบสนองปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวแบบองค์รวมได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสภาพ ทั้งนี้โดยฝึกหลักการทำงานแบบสหสาขาวิทยาการและมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ภายหลังการศึกษาอบรม ผู้เข้ารับการอบรมสามารถ
- อธิบายนโยบายสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพยาบาลและบทบาทพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
- อธิบายแนวคิดภาวะเจ็บป่วยวิกฤต การบริหารจัดการในหน่วยวิกฤต การพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤตและบทบาทพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตแบบองค์รวมได้อย่างถูกต้อง
- ประเมินปัญหาสุขภาพ วินิจฉัยและการจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณของผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและปลอดภัย รวมทั้งการส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพและพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม
- วิเคราะห์และคาดการณ์ในการป้องกันและจัดการกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการพยาบาล และรักษาผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและคุ้มค่า
- ให้ความรู้ คำแนะนำ และคำปรึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- วิเคราะห์ ตัดสินใจ ในประเด็นจริยธรรมที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยวิกฤตได้อย่างเหมาะสม
- ประสานความร่วมมือในวิชาชีพและสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
วิชานโยบายสุขภาพและการพยาบาล 2(2 – 0 – 4)
วิชาการประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินใจทางคลินิก 2(1 – 2 – 4)
วิชาการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต 1 2(2 – 0 – 4)
วิชาการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต 2 4(4 – 0 – 8)
วิชาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต 1 2(0 – 8 – 4)
วิชาการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่วิกฤต 2 3(0 – 12 – 6)
สาขาการจัดการทางการพยาบาล
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการจัดการทางการพยาบาล
ภาษาอังกฤษ : Nursing Management Program
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการจัดการทางการพยาบาล
ภาษาอังกฤษ : Certificate in Nursing Management
ระยะเวลาการอบรม : 16 สัปดาห์
ค่าลงทะเบียน : คนละ 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) (รวมค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานในประเทศ และกิจกรรมในหลักสูตร)
จำนวนรับผู้เข้ารับการศึกษาอบรม ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 56 คน
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านบริการการพยาบาลมาอย่างน้อย 5 ปี และ/หรือผู้บริหารการพยาบาลทุกระดับ และได้รับอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาให้เข้ารับการอบรม
สถานที่แหล่งฝึกปฏิบัติ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- หออภิบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต อายุรกรรมศัลยกรรม
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- หอผู้ป่วยระยะวิกฤต ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- หอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลขอนแก่น
ได้หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ 50 หน่วยคะแนน
วัตถุประสงค์ทั่วไป :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถในการจัดการทางการพยาบาล และสามารถนำไปประยุกต์ในการบริหารการพยาบาลได้
วัตถุประสงค์เฉพาะ : เมื่อสิ้นสุดการอบรมแล้ว คาดหวังว่าผู้รับการอบรมจะมีความรู้ ความสามารถดังต่อไปนี้
- มีความรู้ด้านนโยบายสุขภาพ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล
- มีความรู้ด้านทฤษฎีที่ใช้ในการพยาบาล ตลอดจนแนวคิด หลักการและกระบวนการวิจัยทางการพยาบาล
- มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหาร และการจัดการที่นำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการพยาบาล
- มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรทางสุขภาพและการพยาบาล
- มีทักษะการใช้ผลวิจัยในการพัฒนางานบริหารการพยาบาล
- มีทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะที่จำเป็นในการบริหารการพยาบาล
- มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล
- สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์การบริหารการพยาบาลได้อย่างกว้างขวาง
- สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารการพยาบาลได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความสามารถ ที่จะปฏิบัติงานด้านการบริหารการพยาบาลได้อย่างเหมาะสม
วิชานโยบายสุขภาพและการพยาบาล 2(2 – 0 – 2)
วิชาการบริหารการพยาบาล 3(3-0-6)
วิชาการจัดการทรัพยากรทางสุขภาพและการพยาบาล 2(2-0-4)
วิชาการวิจัยและการใช้ผลวิจัยทางการพยาบาล 2(2-0-4)
วิชาสัมมนาประเด็นปัญหาทางการบริหารการพยาบาล 1(1-0-2)
วิชาการจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล 1(1-0-2)
วิชาปฏิบัติการบริหารการพยาบาล 5(0-20-10)
สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต
ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Neonat.al and Pediatric Critical Care Nursing
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต
ภาษาอังกฤษ : Certificate in Nursing Specialty in Neonatal and Pediatric Critical Care Nursing
ระยะเวลาการอบรม : 16 สัปดาห์
ค่าลงทะเบียน : คนละ 35,000 บาท (สามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) (รวมกิจกรรมการศึกษาดูงานภายในประเทศ)
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- เป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ทางการพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี และต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้น 1 ที่ไม่หมดอายุ
- เป็นผู้ที่กำลังปฏิบัติงานด้านการพยาบาลผู้ป่วยทารกหรือเด็กวิกฤต
- เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
- มีสุขภาพแข็งแรง (มีใบรับรองแพทย์) ไม่ทุพพลภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียน
- ได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดจากหน่วยงาน (มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาสูงสุดจากหน่วยงาน)
สถานที่แหล่งฝึกปฏิบัติ
- คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ห้องปฏิบัติการพยาบาล
- คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- โรงพยาบาลศรีนครินทร์ หออภิบาลผู้ป่วยทารกและเด็กระยะวิกฤต
- ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หออภิบาลผู้ป่วยเด็กระยะวิกฤต
- โรงพยาบาลขอนแก่น หออภิบาลผู้ป่วยทารกและเด็กระยะวิกฤต
ได้หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ 50 หน่วยคะแนน
วัตถุประสงค์ทั่วไป :
ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมในหลักสูตรต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องเกี่ยวกับ นโยบายสุขภาพและบทบาทพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กระยะวิกฤตรวมทั้งครอบครัว การดูแลอย่างเป็นองค์รวม ตัดสินใจภายใต้กฎหมายและจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัวระยะวิกฤตและระยะสุดท้าย สามารถบูรณาการความรู้และทักษะ ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ ให้การพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตเฉพาะโรคที่มีปัญหาซับซ้อน พัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ ป่วยเฉพาะโรคโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สามารถจัดการข้อมูลทางสุขภาพและผลลัพธ์ทางการพยาบาล ของผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตเฉพาะโรค มีทักษะพิเศษในการพยาบาลเฉพาะด้านทางคลินิกในผู้ป่วย เฉพาะโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน ตลอดจนส่งเสริมฟื้นฟูผู้ป่วยทารก เด็กวิกฤตและครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์เฉพาะ : เพื่อให้ผู้ศึกษาอบรมสามารถ
- อธิบายนโยบายสุขภาพ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต และบทบาทพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
- ประเมินภาวะสุขภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ เพื่อนำมาวิเคราะห์และจัดการแก้ไขปัญหาสุขภาพและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาลเฉพาะโรคของผู้ป่วยทารก เด็กวิกฤตและครอบครัวอย่างเป็นองค์รวม โดยใช้กระบวนการพยาบาลได้ถูกต้อง
- บูรณาการความรู้ แนวคิด ทฤษฎีการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กในระยะวิกฤต การบริหารจัดการในหน่วยวิกฤต การรักษาพยาบาล การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพในการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์ประเด็นปัญหาทางการพยาบาล และวางแผนจัดการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยทารก
- และเด็กระยะวิกฤตอย่างเป็นองค์รวมได้อย่างถูกต้อง
- วิเคราะห์และคาดการณ์ในการป้องกัน จัดการภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทารก เด็กวิกฤต และครอบครัวได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
- ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ นวัตกรรมทางการพยาบาล เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า คุ้มทุน
- ให้ความรู้ แนะนำ ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ
- ประสานความร่วมมือกับสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยทารก เด็กวิกฤตและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์ตัดสินใจในประเด็นกฎหมายจริยธรรม ในการดูแลผู้ป่วยทารก เด็กและครอบครัว ระยะวิกฤตและระยะสุดท้ายได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้ศึกษาอบรม มีความรู้ ความเข้าใจและสามารถบูรณาการความรู้เพื่อปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาคุณภาพหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
1. ภาคทฤษฎี จำนวนหน่วยกิต |
10 |
หน่วยกิต |
|
|
2. ภาคปฏิบัติ จำนวนหน่วยกิต |
5 |
หน่วยกิต |
|
รายวิชาในหลักสูตร |
|
|
วิชาแกน : นโยบายสุขภาพและการพยาบาล |
2 |
หน่วยกิต (2-0-4) |
|
วิชาบังคับ : การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินใจทางคลินิก |
2 |
หน่วยกิต (1.5-1-4) |
|
วิชาเฉพาะสาขา |
11 |
หน่วยกิต |
|
ภาคทฤษฎี : จำนวนหน่วยกิต |
6 |
หน่วยกิต |
|
- การพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต 1 |
2 |
หน่วยกิต (2-0-4) |
|
- การพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต 2 |
4 |
หน่วยกิต (4-0-8) |
|
ภาคปฏิบัติ จำนวนหน่วยกิต |
5 |
หน่วยกิต |
|
- การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต 1 |
3 |
หน่วยกิต (0-12-6) |
|
- การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยทารกและเด็กวิกฤต 2 |
2 |
หน่วยกิต (0-8-4) |
สาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)
ภาษาอังกฤษ : Program of Nursing Specialty in Nurse Case Management for Chronicdisease (Diabetes and Hypertension)
ชื่อประกาศนียบัตร
ภาษาไทย : ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)
ภาษาอังกฤษ : Certificate of Nursing Specialty in Nurse Case Management for Chronicdisease (Diabetes and Hypertension)
ชื่อย่อ : ป.การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง)
ระยะเวลาการอบรม : 16 สัปดาห์
สถานที่แหล่งฝึกปฏิบัติ
- หน่วยบริการเฉพาะโรคเรื้อรัง (คลินิกเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง) ในขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครพนม อุดรธานี สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ชัยภูมิ ในโรงพยาบาลของอาจารย์นิเทศประจำแหล่งฝึก
- หน่วยบริการเฉพาะโรคเรื้อรัง (คลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูง) ในเขตบริการสุขภาพที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติงาน
ได้หน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่องสาขาพยาบาลศาสตร์ 50 หน่วยคะแนน
วัตถุประสงค์ทั่วไป :
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจนโยบายและระบบบริการสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีความรู้และทักษะในการจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเสี่ยงต่อการเกิดโรคจนถึงระยะโรคลุกลามเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง การตรวจวินิจฉัย การรักษา การจัดการทรัพยากรทางสุขภาพ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการรักษาและการรักษาทางเลือกในกรณีที่จำเป็นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการทางสุขภาพและค่าใช้จ่าย สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูลเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้
วัตถุประสงค์เฉพาะ : ภายหลังการฝึกอบรมผู้รับการฝึกอบรมสามารถจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ดังนี้
- วิเคราะห์ระบบสุขภาพ นโยบายสุขภาพ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการรายกรณี
- อธิบายแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การจัดการเฉพาะโรค การจัดการรายกรณี และระบบบริการสุขภาพได้
- แสดงความสามารถในการการจัดการรายกรณีในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในด้าน
- การประเมินปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงของผู้ป่วย
- การจัดการเกี่ยวกับความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
- การจัดการระบบบริการสอดคล้องกับความต้องการขององค์กร/หน่วยงาน
- การจัดการสื่อสาร/ประสานทีม
- การจัดการด้านแหล่งประโยชน์และการใช้ทรัพยากรสุขภาพ
- การจัดการด้านข้อมูล/เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การจัดการเชิงผลลัพธ์/คุณภาพ
- การจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนทางปัญหาสุขภาพและจิตสังคม
- การพิทักษ์สิทธิ ความเป็นธรรมแก่ ผู้ใช้บริการ ผู้ซื้อบริการ และผู้ให้บริการ
- การตัดสินเชิงจริยธรรมในการจัดการรายกรณี
วิชาแกน 2 หน่วยกิต
ระบบบริการสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพ 2 (2-0-2)
(Healthcare delivery system and quality improvement)
วิชาบังคับของสาขาทางคลินิก 2 หน่วยกิต
การประเมินภาวะสุขภาพและการตัดสินทางคลินิกสำหรับการจัดการรายกรณี 2 (1-2-2)
(Health assessment and clinical judgment for case management)
วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา 12 หน่วยกิต
การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2 (2-2-2)
(Case management for patients with diabetes mellitus and hypertension)
บูรณาการพยาธิสรีรวิทยาและการบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดัน
โลหิตสูง 3 (3-0-3)
(Integrated pathophysiology and therapeutics for patients with Diabetes Mellitus and Hypertension)
ปฏิบัติการจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 4 (0-16-2)
(Practicum in case management for patients with Diabetes mellitus and Hypertension)
ปฏิบัติการจัดการข้อมูลและพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและ
ความดันโลหิตสูง 2 (0-8-1)
(Practicum in data management and quality improvement of service for patients with Diabetes mellitus and Hypertension)