หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

ชื่อหลักสูตร

ชื่อภาษาไทย : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)

พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต)

ชื่อภาษาอังกฤษ: Master of Nursing Science (Psychiatric and Mental Health Nursing)

M.N.S. (Psychiatric and Mental Health Nursing)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

      (1) มีความรู้ความเข้าใจเชิงลึกในหลักการและทฤษฎีในสาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้การพยาบาลรายกรณีในผู้ป่วยจิตเวชซับซ้อนในประเด็นปัญหาที่พบบ่อยได้

      (2) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และทำวิจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ในศาสตร์การพยาบาล จิตเวชและสุขภาพจิต

      (3) มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการ วิชาชีพ และมีภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ

      (4) มีความสามารถในการสื่อสาร การใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพและวิชาการวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยที่จะนำไปสู่การแสวงหา เรียนรู้และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และศาสตร์ทางการพยาบาล

      (5) มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอย่างแข็งขันและต่อเนื่องรวมทั้งสนับสนุนผู้อื่นให้มีการพัฒนาเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง

      (6) มีทักษะในการทำงานเป็นทีม ร่วมมือกับทีมสุขภาพและผู้เกี่ยวข้อง

      (7) มีภาวะผู้นำ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงวิชาการ ในทางสร้างสรรค์

ระบบการจัดการศึกษา

          ระบบการจัดการศึกษาเป็นแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย มีระยะการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์/ภาคการศึกษา 

ระยะเวลาที่ศึกษา

          2 ปีการศึกษา 

โครงสร้างหลักสูตร

          หลักสูตรระดับปริญญาโท  แผน 1 วิชาการ แบบ ก (2) จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร   37 หน่วยกิต

1)  หมวดวิชาบังคับ

     1.1 วิชาแกน

     1.2 วิชาเฉพาะสาขา

9 หน่วยกิต

13 หน่วยกิต

2) หมวดวิชาเลือก 

ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

3) วิทยานิพนธ์    

ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

รวม

37 หน่วยกิต

แผนการศึกษา

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

หน่วยกิต

NU 127 101

ทฤษฎีและแนวคิดทางการพยาบาล

Theories and Concepts in Nursing

    2 (2-0-4)

NU 127 102

การวิจัยและการใช้ผลการวิจัยทางการพยาบาล

Research and Research Utilization in Nursing

2 (2-0-4)

 NU 727 101

ทฤษฎีพื้นฐานสำหรับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

Theoretical foundation for Psychiatric and Mental Health Nursing

2 (2-0-4)

 NU 727 102

กระบวนการพยาบาลและรูปแบบการบำบัดทางการพยาบาลจิตเวช

Nursing process and Therapeutic Modalities in Psychiatric and Mental Health Nursing

2 (2-0-4)

NU 727 103

สัมมนาประเด็นสุขภาพจิตที่คัดสรรและนวัตกรรมทางการพยาบาล

Seminar on Selected Mental Health Issues and Nursing Innovation

3 (2-2-5)

รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน

11

รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม

11

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

หน่วยกิต
NU 127 103

วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัยทางการพยาบาล

Statistics Method for Nursing Research

2 (2-0-4)
NU 127 104

ระบบสุขภาพและภาวะผู้นำทางการพยาบาล

Health System and Nursing Leadership

3 (3-0-6)
NU 727 201

ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตในคลินิก

Clinical Practice in Psychiatric and Mental Health Nursing

3 (0-9-6)
NU 727 202

ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตในชุมชน

Community Practice in Psychiatric and Mental Health Nursing

3 (0-9-6)
NU 727 899

วิทยานิพนธ์

Thesis

2 (0-8-0)
รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน 13
รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม 24

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1

หน่วยกิต

NU ### ###

วิชาเลือก

Elective course

3

NU 727 899

วิทยานิพนธ์

Thesis

7

 

รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน

10

 

รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม

34

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2

 

NU 727 899

วิทยานิพนธ์

Thesis

3

 

รวมจำนวนหน่วยกิตลงทะเบียนเรียน

3

 

รวมจำนวนหน่วยกิตสะสม

37

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สภาการพยาบาลรับรอง ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.50 ขึ้นไป จากระบบผลการเรียน 4.00 หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า
  2. มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
  3. มีประสบการณ์การปฏิบัติวิชาชีพการพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี
  4. มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  5. กรณีผู้สมัครต่างชาติ

5.1 หลักเกณฑ์เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยขอนแก่น และข้อกำหนดของสภาการพยาบาลที่ผู้เข้าศึกษาต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์หรือเทียบเท่า

5.2 ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในประเทศของผู้สมัคร กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือรับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาล (Nursing Regulatory Authority) ในประเทศของผู้สมัคร

5.3 สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้

6. มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนด (ก่อนยื่นขอสอบวิทยานิพนธ์)

การดำเนินการเรียนการสอน

วัน-เวลาในดำเนินการเรียนการสอน

ดำเนินการเรียนการสอนในวันและเวลาราชการ

รูปแบบการเรียนการสอน

ภาคทฤษฎี เรียน online

ภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติในสถานที่ฝึก

*** สามารถเรียนล่วงหน้าเพื่อสะสมหน่วยกิต ในระบบ KKU Lifelong Education***

ภาคการศึกษา

ภาคการศึกษาต้น ระหว่าง มิถุนายน – ตุลาคม

ภาคการศึกษาปลาย ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – มีนาคม

ทุนการศึกษา

          นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับทุน มีโอกาสสมัครเพื่อพิจารณาให้รับทุนต่างๆ เช่น ทุนอุดหนุนและส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ และทุนอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย                               

การพิจารณารับเข้าศึกษา

        1. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ (concept paper)
        2. สอบสัมภาษณ์ (ออนไลน์) วันที่ 13 – 17 พฤศจิกายน 2567

รับสมัคร ตั้งแต่ วันนี้ ถึง 13 พฤศจิกายน 2567

เอกสารประกอบการสมัคร

  1. ใบสมัครสอบเข้าเป็นนักศึกษา (แบบ บว.2) ดาว์นโหลดแบบฟอร์มได้ที่ ………(Download)
  2. เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4ดาว์นโหลแบบฟอร์มได้ที่ ………(Download)
  3. ผลการวัดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ (ถ้ามี)
  4. สำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับปริญญาตรี (Transcript)
  5. สำเนาใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
  6. ใบรับรองประสบการณ์จากต้นสังกัด (แบบ บว.4) (ถ้ามีต้นสังกัด) ดาว์นโหลแบบฟอร์มได้ที่ ………(Download)

ส่งเอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดที่ อ.ดร.จุไรพร สัมพุทธานนท์ email: juraipon@kku.ac.th

ติดต่อสอบถามข้อมูลการสมัครเพิ่มเติม

ผศ.ดร. ชนกฤทัย ชื่นอารมณ์ (ประธานหลักสูตร) โทร 093-0803031, email: chacho1@kku.ac.th

Scroll to Top